ส่วนที่อาจเข้าใจผิด ในหนังสือ ถ้ารู้...(กู)...ทำไปนานแล้ว
ในหน้า 99 หัวข้อเรื่อง บาปทางกาย วาจา ใจ อะไรบาปหนักที่สุด
หากเป็นการเปรียบเทียบแบบ 1 ต่อ 1 การทำบาปทางจิตใจนั้นบาปหนักที่สุด(พระไตรปิฎกเล่มที่ 13 ข้อ 63-68)
แต่เนื้อหาในส่วนนี้ต้องการแสดงให้เห็นว่า ก่อนที่จะทำบาปทางกาย เราจะทำบาปทางวาจาหรือใจมาก่อน
ฉะนั้นในการทำบาปทางกาย เราจะทำบาปทางวาจาและใจด้วย(ทำบาป 3 ทาง)
เมื่อรวมแล้วจึงทำให้การทำบาปทางกาย บาปมากที่สุด
(แต่ถ้าเทียบแบบ 1ต่อ1 บาปทางใจบาปหนักที่สุด ด้วยเหตุนี้การทำบุญทางจิตใจจึงได้บุญสูงสุด)
สวัสดีค่ะ คุณณัฐพบธรรม เพิ่งได้อ่านหนังสือฉบับที่ตีพิมพ์ครั้งแรกรู้สึกว่ามีการตีประเด็นให้เด็กรุ่นใหม่เข้าใจในพระพุทธศาสนาโดยการเปรียบเทียบกับทางวิทยาศาสตร์ได้ดีมากค่ะ โดยส่วนตัวสอนทางด้านการบริหารธุรกิจในมหาวิทยาลัย เลยมีความคิดในการที่จะแบ่งปันบุญ และพัฒนาการสอนทางการบริหารธุรกิจโดยการเชื่อมโยงหลักพระพุทธศาสนาให้แก่นักศึกษาเด็กรุ่นใหม่ได้เข้าใจ และไม่มองว่าพุทธศาสนาของเราล้าสมัย และเป็นเรื่องของคนแก่อีกต่อไป ขอบคุณมากค่ะ ที่ค้นคว้า แล้วได้ผลิตหนังสือที่ดีเหมาะแก่การนำความรู้สู่คนรุ่นใหม่ได้จริง
คำว่า "อโหสิกรรม" นั้น
ในพุทธศาสนาไม่ได้หมายถึงการที่เรายกโทษ ไม่โกรธแค้น
แต่คนส่วนใหญ่เอาไปตีความผิดๆเลยทำให้เข้าใจผิด
คำว่า "อโหสิกรรม" ใช้อธิบายในสถานการณ์ที่รับกรรมนั้นจนหมด
หรือ เราเข้าสู่นิพพาน กรรมนั้นไม่สามารถจะตามส่งผลได้
กรรมนั้นก็จะกลายเป็นอโหสิกรรมครับ
ความหมายของประโยคที่คุณ euthanasia ยกมานั้น
หมายถึงว่า กรรมที่เราทำ ยังไงก็ต้องได้รับกรรมจนกว่าจะรับกรรมหมด
หรือไม่ก็เข้าสู่นิพพานเท่านั้นครับ
อ่านไปก็เลยคิดไปว่า แล้วถ้าเราทำกรรมไม่ดีเอาไว้ เกิดวัวสีดำ แต่พอได้รับอโหสิกรรม วัวนั้นก็ตายลงไปได้เลยหรือคะ จริงๆ วัวนั้นไม่น่าจะตายไปเพราะ กรรมไม่ดีอย่างไรก็ต้องได้รับวิบากกรรมนั้น เพียงแต่สายใยที่จะเชื่อมให้คนสองคนต้องมาพบกันอีกต่างหากที่ขาดไป ไม่ต้องเกิดมาพบแล้วใช้กรรมร่วมกันอีกน่ะค่ะ
เรียนคุณeuthanasia
เท่าที่ผมจำได้ ในหนังสือไม่เคยกล่าวว่า
"ถ้าเราอโหสิกรรมให้ใครแล้ว วัวดำ(กรรมไม่ดี)ก็จะหายไป "
ผมอาจจะจำผิดก็ได้ รบกวนบอกเลขหน้าให้ด้วยนะครับจะได้ลองไปอ่านอีกรอบ
ส่วนคำถามเรื่องอโหสิกรรม เป็นเพียงการแสดงความตั้งใจที่เราจะไม่จองเวรเขาอีก
แต่เขาจะยังคงได้รับผลกรรมต่อไปครับ
ส่วนเรื่องเทวดา เปรตนั้น พระพุทธเจ้าไม่เคยพูดแบบอุปมาอุไมยเลย พูดตรงๆเลยครับ
ส่วนจะมีจริงหรือไม่ ตอนตายก็รู้เองครับ
หรือหากอยากพิสูจน์ ก็นั่งสมาธิให้มากครับ
เพราะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ท้าทายทุกการพิสูจน์อยู่แล้วครับ
หมายเหตุ: หากมีคำถาม รบกวนโพสท์ที่เวบบอร์ด จะได้คำตอบเร็วกว่าครับ