เรียนทุกท่าน
เมื่อวันก่อน หลังจากที่ผมได้ส่งเมลเกี่ยวกับการทำบุญกฐิน
ว่าทำแล้วได้บุญมากแค่ไหน
ได้มีผู้สอบถามผมมาว่า เขาได้ยินมาว่า ทำบุญกฐินนั้น
หากผู้ทำมีบุญไม่มากพอจะตายได้ ความจริงเป็นอย่างไร
คำถามนี้ทำให้นึกถึงวันที่ไปสัมภาษณ์รายการ Book Smlie ของช่อง True Vision 7
ที่น้องปอง AF ได้สอบถามคำถามประมาณนี้เช่นกัน
และทำให้ผมนึกย้อนกลับไปถึงตัวเองในอดีต
ว่าเคยได้ยินเรื่องแบบนี้เช่นกัน
ผมจำเรื่องราวโดยละเอียดไม่ได้ แต่คร่าวๆว่า มีคนทำบุญที่ใหญ่มากๆ
พอทำเสร็จก็ตายทันที เพราะบุญมากเกินจนมีชีวิตอยู่ไม่ได้ หรือบุญไม่มากพอที่จะรับบุญขนาดนั้น
เรื่องราวต่างๆทำให้ผมคิดว่า คนต่างๆจังหวัดจำนวนมาก(เหมือนผม) อาจจะเคยได้ยินเรื่องราวดังกล่าวมาบ้าง แล้วความจริงเป็นอย่างไร เราไม่ควรทำบุญมากๆจริงหรือเปล่า
หากเรามองด้วยเหตุผล ก็คงจะมีคำถามว่า ถ้าต้องรอให้มีบุญมากพอถึงจะทำบุญใหญ่ได้
แล้วเมื่อไหร่จะมีบุญมากพอเสียทีหล่ะ(ก็เอาแต่ทำบุญเล็กๆ)
และจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนนี้บุญมากพอจะทำบุญใหญ่ๆหรือยัง
จริงๆแล้วในพระไตรปิฎก ไม่เคยมีเรื่องแบบนี้เลยครับ และพระพุทธเจ้าไม่เคยห้ามเราทำบุญใหญ่ๆเลย
อย่างท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็ทำบุญที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์จะทำได้
นั่นคือสร้างวัดพระเชตวัน ที่ให้พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์จำนวนมากมายมหาศาล
ได้ใช้เป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอยู่นานหลายปี
ท่านไม่ใช่คนที่มีบุญมากที่สุด หรือรวยที่สุด หรือมีอำนาจมากที่สุด
แต่ท่านมีศรัทธาและความตั้งใจมากที่สุด โดยเป็นความตั้งใจที่สะสมมาหลายชาติแล้ว
ในด้านตรงกันข้าม ก็มีคนยากจนจำนวนมาก ที่มีโอกาสได้ทำบุญใหญ่ในยุคพุทธกาล
ตัวอย่างเช่น การได้ตักบาตรให้อาหารมื้อแรกกับพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ที่พึ่งจะออกจากนิโรธสมาบัติ(นั่งสมาธิอยู่ในญาณติดต่อกันไม่หยุด 7 วัน) ถือว่าเป็นบุญใหญ่มาก มากจนจะร่ำรวยภายใน 7 วันหลังจากได้ทำ
พอได้ทำ ก็ไม่เห็นตาย แต่รวยขึ้นทันที
สรุปว่า บุญเป็นสิ่งดีๆ ที่มีมากเกินไม่เป็นไร คนที่ตายเพราะมีบุญมากเกินนั้นไม่มี
แต่จะตายเพราะมีบาปมากเกินต่างหาก
ที่สำคัญก็คือ การเผยแพร่ความเชื่อที่ว่า ทำบุญมากเกินจะทำให้ตายได้นั้น
(ด้วยการเล่าให้ฟัง บอกต่อๆกัน ด้วยวิธีใดก็ตาม)
จะทำให้ ผู้ที่ได้รับรู้แล้วเชื่อ ทำบุญน้อยลงกว่าที่ตั้งใจเอาไว้
หากเป็นแบบนี้ ถือได้ว่าผู้ที่เผยแพร่ความเชื่อผิดๆนี้ ได้ทำบาปอย่างร้ายแรง
เพราะเป็นการขัดขวางโอกาสในการทำบุญของผู้อื่น
ฉะนั้นใครที่มีคนรู้จักที่เขาเชื่อแบบนี้ หรืออาจเชื่อแบบนี้
ก็อย่าลืมบอกกล่าวตักเตือนเขาด้วยนะครับ จะได้ไม่พลาดทำบาปเพราะไม่รู้
** อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำบุญที่ได้บุญมากในหนังสือ "บุญใหญ่ พลิกชีวิต" **
ด้วยความนับถือ
ณัฐพบธรรม
ผู้เขียนหนังสือ ถ้ารู้...(กู)...ทำไปนานแล้ว
ธรรมะ,สังฆทาน,สังฆทานที่ถูกต้อง,กฎแห่งกรรม,กฏแห่งกรรม,บุญ,บาป,บุญบาป,นรก,สวรรค์,ทำทาน,รักษาศีล,เจริญภาวนา,นั่งสมาธิ,เจริญสติ,ธรรมทาน,ณัฐพบธรรม
สวัสดีครับ เมื่อวันก่อน เป็นวันเกิดผม ผมได้ไปทําบุญ สังฆทาน ที่วัด ... และทำตามคำแนะนํา จากหนังสือของคุณณัฐพบธรรม ซึ่งทางคณะสงฆ์ รวมทั้งคณะผม ก็ไม่เคยทำได้อย่างครบถ้วนถูกต้องอย่างนี้มาก่อน ผมจึงขอขอบคุณและขอแบ่งบุญให้คุณณัฐพบธรรม และครอบครัว และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ด้วยครับ (สาธุ)
ผมมีข้อสงสัย ขอถามหน่อยนะครับ เรื่องอาจจะสมมุติ ที่เขาเล่าให้ผมฟังมีอยู่ว่า Mr. A ได้ไปบวชพระ ขณะก่อนสึก เห็นเพื่อนพระกำลังนั่งดูหนังโป็ ทาง computer จึงแวะดูกับเขาด้วย( นิดนึง) รุ่งขึ้นก็พากันสึกออกมา ไม่ได้ปลงอาบัติอะไร วันต่อมาปรากฏว่า Mr.A เปลือกตาเกิดบวมรุนแรง เป็นกุ้งยิงหนองต้องผ่าออกรักษาอยู่ 15วัน และเข้าใจว่าเป็นผลของกรรมตามทัน(รับกรรมเรียบร้อยแล้ว)
จากความเข้าใจของผม การบวช รักษาศีลมาก=การทำบุญ ได้บุญมาก (มากกว่าผม เป็นล้านเท่า) เมื่อ อาบัติ =การทำบาป (ได้รับผลบาปมากกว่าผมเป็นล้านเท่า) และบอกน้อง Mr. A ว่า นี่มันบาปมากนะ และข้อสงสัยมีดังนี้
1. ศีลทั้ง227 ข้อ เมื่ออาบัติแม้ในวินัยเล็กน้อย (พระขุดดิน)ก็มีโทษถึงตกนรก หรือไม่อย่างไร
2. เมื่อ ปลงอาบัติแล้ว ผลของบาปจากอาบัติยังรอแสดงผลอยู่หรือไม่
3. เมื่อไม่ปลงอาบัติ แล้วสึกจะเป็นอย่างไร สามารถ กลับไปบวชแก้ตัว แล้วขอปลงอาบัติ ครั้งเก่าได้หรือไม่
4. ถ้าอาบัติปราชิก แล้วไม่ยอมสึก การอาบัติต่อๆมา (พระขุดดิน) จะมีผลในฐานะพระ หรือ ไม่มีผล เพราะถือว่ากลายเป็นคนธรรมดาไปแล้ว
ผมได้ถามพระรูปหนึ่ง ท่านก็อธิบายว่า พระวินัยบางอย่าง ก็เหมือนกฏหมายบ้านเมือง เมื่อปลงอาบัติ ก็จบ (เทียบกับ ฝ่าไฟแดง ไม่บาปตกนรก จ่ายค่าปรับก็จบ) และยังแนะนำผมว่า แล้วไปยุ่งวายใจอะไรกับเรื่องคนอื่น อย่าไปจินต ต่อว่าต้องไปอาบัตินั่นนี่ ตาบวม มันเกี่ยวอะไรกับหนังโป็ ให้ถามสาเหตุกับหมอ เอาเวลามาพิจารณาตัวเองดีกว่าไหม
คําถามสุดท้าย ถ้าผมเจอ Mr.A อีก ผมควรหรือไม่ควร ที่จะบอกอะไรบางอย่างที่อาจจะเป็นประโยชน์(คำแนะนำดีๆที่ผมก็ยังไม่รู้) แก่เขา หรือไม่อย่างไร
ขอบคุณครับ
แต่ไม่เพียงเท่านั้น พระโสดาบันยังสามารถละกิเลสซึ่งปุถุชนยังไม่อาจละได้ ๓ ข้อ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพตปรามาส อธิบายสั้นๆ คือ ความยึดมั่นถือมั่่นในตน (วัตถุธาตุ) ความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ และมีคุณดังที่กล่าวในพระไตรปิฎกหรือไม่) และความยึดมั่น (หลง) ในศีลพรตที่เป็นมิจฉาทิฐิ (ปฏิบัติแบบงมงาย) จึงทำให้พระโสดาบันเป็นผู้ที่ถึงซึ่งกระแสนิพพาน ไม่อาจแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ (ยังไงก็ต้องสำเร็จอรหันต์)...
บางคนอาจสงสัยว่าเหตุใดพระโสดาบันจึงไม่มีความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ให้ลองพิจารณาง่ายๆ ว่า หากท่านยังไม่เคยกินผลมะม่วงมาก่อนในชีวิต เมื่อมีคนที่เคยกินผลมะม่วงมาบอกให้ท่านปลูกมะม่วงและบอกว่าผลมะม่วงสุกสามารถกินได้และมีรสหวาน ท่านก็จะยังไม่รู้ว่ากินได้จริงหรือไม่และหวานจริงหรือเปล่า จนกว่าท่านได้ลงมือปลูกและดูแลต้นมะม่วงตามที่ท่านผู้รู้แนะนำจนกระทั่งมะม่วงออกผลสุกงอม ท่านจึงได้กินผลมะม่วงนั้น แล้วจึงรู้ว่าผลมะม่วงสุกนั้นกินได้และมีรสหวานจริง ท่านจึงจะเชื่อคำที่ท่านผู้รู้บอกโดยไม่มีความลังเลสงสัยอีกต่อไป พระพุทธเจ้าก็เป็นเช่นผู้รู้ที่ให้คำแนะนำนั้น ส่วนพระโสดาบันคือผู้ที่ได้ยินได้ฟังคำสอนแล้วนำมาปฏิบัติตามจนได้เสวยอมตรสแห่งธรรมซึ่งเป็นปัจจัตตัง (รู้ได้เฉพาะตนไม่สามารถอธิบายความรู้สึกได้) แล้วเราล่ะ เลือกที่จะฟังแล้วผ่านไป (ชีวิตไม่มีอะไรดีขึ้นเลย) หรือจะมุ่งสู่เส้นทางสายอริยะ...
ผู้ที่บรรลุโสดาบันแล้ว สภาพจิตใจจะไม่เหมือนพวกเรา
นั่นคือ จิตใจจะไม่โน้มไปทำบาปอีก
ฉะนั้น จึงไม่ตกนรกครับ
ขอบคุณครับ