บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธเถรวาท "เท่านั้น"
ผมได้รับการปลูกฝังความเชื่อมาตั้งแต่เด็กว่า การกินเจ คือการไม่กินเนื้อสิ่งมีชีวิต
เป็นการเบียดเบียนชีวิตสัตว์ที่น้อยลง เราจะได้บุญจากการกินเจ
ตัวผมเองในอดีตก็คงตั้งใจกินเจ โดยคิดว่าได้บุญไปด้วยทำความสะอาดลำไส้ไปด้วย
แม้จะทรมานที่หิวและไม่มีแรงบ้าง แต่ก็คิดว่าคุ้ม
แต่จริงๆแล้วการกินเจ ได้บุญจริงหรือ ?
การกินเจแล้วได้บุญเป็นความเชื่อจากไหน ?
เรื่องการกินเจ เป็นเรื่องที่อาจจะกระทบกับความรู้สึกของคนจำนวนมาก
เพราะขัดกับความเชื่อที่ตนยึดถือ(คล้ายกับที่ผมเคยเป็น)
บางคนได้อ่านบทความนี้ อาจจะต่อต้าน หรือพาลไม่พอใจผู้เขียน
โดยเฉพาะช่วงที่ใกล้เทศกาลกินเจ
คงจะมีหลายคนที่ตั้งใจจะกินเจเพื่อสร้างบุญบารมีอย่างเต็มที่
การเขียนบทความนี้ออกมา จึงเหมือนการต้านกระแสของคนจำนวนมาก
แต่ผมก็ยังอยากให้ทุกคนได้อ่าน และได้ลองใช้สติและปัญญาพิจารณาด้วยตนเองว่า
เราจะได้อะไร จากการกินเจ
ในยุคพุทธกาล(พระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่) พระเจ้าเทวทัตได้ขอให้พระพุทธเจ้า
เพิ่มวินัย(ข้อห้าม)สำหรับพระสงฆ์เพิ่มอีก 5 ข้อ และหนึ่งในนั้นก็คือ "ห้ามกินเนื้อสัตว์"
เพราะการกินเนื้อสัตว์จะเป็นการเบียดเบียนชีวิตอื่น
แต่พระพุทธเจ้าไม่เห็นด้วย ส่วนหนึ่งก็เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ขอคนอื่นทาน
หากไม่ทานเนื้อสัตว์ จะกลายเป็นผู้กินยากอยู่ยาก
และเป็นการสร้างความลำบากให้กับชาวบ้านทั่วไปที่ต้องการจะถวายอาหาร
พระพุทธเจ้าได้บัญญัติว่าเนื้อที่ไม่ควรทานมี 10 อย่างคือ
เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือดาว เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อสุนัข เนื้องู(ซึ่งสาเหตุที่ห้าม เข้าใจว่าน่าจะเกิดจากกลิ่นตัวที่แรงจากการทานสัตว์เหล่านี้อาจทำให้เวลาอยู่ในป่าจะมีอันตราย)
ส่วนการทานเนื้ออื่นจะบาปเมื่อ ได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อถวายตน
เช่น พระได้รับนิมนต์จากชาวบ้าน ตอนเดินผ่านหน้าบ้านเห็นไก่ 1 ตัว
ชาวบ้านบอกว่าเดี๋ยวจะทำไก่บ้านต้มให้กิน แล้วชาวบ้านก็หายไปสักพัก
แล้วก็ยกไก่บ้านต้มมาให้กิน แบบนี้ฉันไม่ได้ บาป เพราะได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อถวายตน
แต่ถ้าพระไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ยิน ชาวบ้านฆ่าไก่ไว้แล้วทำไก่บ้านต้มเสร็จแล้วพระถึงมา
แล้วชาวบ้านก็ยกไก่บ้านต้มมาให้ฉัน แบบนี้ฉันได้ เพราะไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รู้ว่าเขาฆ่าเพื่อถวายให้ตน
จะเห็นว่า แม้แต่พระซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติเพื่อให้บรรลุธรรม และห้ามทำบาปทั้งปวง
พระพุทธเจ้ายังไม่ห้ามกินเนื้อสัตว์เลยนะครับ
คำถามที่สำคัญก็คือ การงดเว้นการกินเนื้อสัตว์(เจหรือมังฯ) เป็นคำสอนในพุทธศาสนาหรือไม่ ?
คำตอบก็คือ "ไม่ใช่"
เพราะพระพุทธเจ้าก็ทรงฉันเนื้อสัตว์ตามปกติ ไม่ได้กินเจหรือมังฯ
การที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่จะไม่ทำบาปทั้งปวงฉันเนื้อสัตว์ ก็ทำให้เราสรุปได้ว่า
การกินเนื้อสัตว์ที่เราไม่ได้ฆ่าเอง ไม่ได้สั่งฆ่า ไม่ยินดีที่เขาถูกฆ่า เราไม่ได้บาป
ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า การทานเนื้อสัตว์ไม่บาปข้อฆ่าสัตว์(ปานาติบาต)
เพราะเราจะบาปเมื่อเราฆ่า ส่งเสริมให้ฆ่า ยินดีที่เขาฆ่า ชื่นชมที่เขาฆ่า "สัตว์ที่มีชีวิต" เท่านั้น
การที่เรากินเนื้อสัตว์โดย ไม่ได้สั่ง ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รู้ว่าเขาฆ่าเพื่อเรา "ไม่บาป" เพราะถือว่าเรากินเนื้อที่ตายแล้ว
ส่วนบาปจากการทำให้สัตว์นั้นตายจะตกอยู่กับคนฆ่าส่วนคนกินไม่บาป
เปรียบเทียบง่ายๆว่า สิงโตฆ่ากวาง แต่ไม่กิน แล้วแร้งมากิน
หากเราเป็นกวางที่ถูกฆ่า เราจะโกรธสิงโตหรือแร้ง คำตอบก็คือเราโกรธสิงโต(คุณมาทำร้ายฉันทำไม)
ฉันใดฉันนั้นเมื่อโกรธสิงโตที่เป็นผู้ฆ่า แปลว่าบาปจะตกอยู่กับผู้ฆ่า ผู้กินไม่บาป
ส่วนแร้งที่มากินซากศพของเรา เราจะไม่โกรธเพราะไม่ได้ทำให้เราตาย อีแร้งที่กินศพจึงไม่บาป
สิงโตจะฆ่ากวางอีกกี่ล้านตัว แร้งที่กินซากศพเป็นล้านตัวก็จะไม่ได้บาป
เมื่อกินซากศพแล้วไม่บาป การตัดสินใจไม่กินซากศพจะได้บุญได้อย่างไร
สรุปว่า หากเรายึดเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก
การไม่ทานเนื้อสัตว์ไม่ได้บุญอะไรพิเศษ
เพราะในพระไตรปิฎกไม่เคยกล่าวถึงการทำบุญลักษณะนี้เลย
และการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้า(ชาดก)
ก็ไม่มีเรื่องการไม่ทานเนื้อสัตว์เลยแม้แต่นิดเดียว !
ประเด็นที่คนมักจะเอามาอธิบายว่าการไม่ทานเนื้อสัตว์ คือการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์
การกินเนื้อสัตว์เป็นการทำให้มีการฆ่าสัตว์มากขึ้น
หากกินเนื้อสัตว์น้อยลง ก็จะทำให้คนฆ่าสัตว์น้อยลง เราจึงได้บุญ
เราก็ต้องมองบนพื้นฐานของความเป็นจริงที่ว่า
พืชที่เรากินนั้น คนปลูกพืชก็ต้องฆ่าสัตว์จำนวนมากก่อนที่เราจะได้กิน
เช่น การปลูกข้าว ต้องฆ่าแมลงและสัตว์มากมายในตอนที่ปลูก
และแม้แต่ตอนขนส่งและเก็บรักษาก่อนจะมาถึงเราก็มีการฆ่าสัตว์มากมายเพื่อให้มาถึงเรา
การกินพืชก็ทำให้มีการฆ่าสัตว์มากขึ้นด้วยเช่นกัน
สมมุติว่าการกินอาหารที่ส่งเสริมให้ฆ่าสัตว์เราจะบาป
ก็น่าคิดว่า
เรากินสเต็ก 1 จาน กับกินผัก 1 จานอันไหนจะบาปมากกว่ากัน
หรือบางคนอาจจะเข้าใจผิดว่า การไม่กินเนื้อสัตว์ก็ทำให้ไม่เกิดการฆ่า
แต่ความจริงแล้ว แม้ว่าเราจะไม่กินเนื้อสัตว์ แม้ว่าจะไม่มีมนุษย์คนไหนไปฆ่าสัตว์
สัตว์นั้นก็ต้องถูกฆ่าตายอยู่ดี (ไม่ใช่แก่ตาย)
เหตุที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่า สัตว์เหล่านี้ถูกฆ่าเพราะเคยทำบาปฆ่าสัตว์มาก่อน
ชาตินี้จึงต้องเกิดมาเป็นสัตว์ให้เขาถูกฆ่า (มตกภัตตาชาดก รรถกถาเล่มที่ ๕๕ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ หน้า ๒๖๘)
ฉะนั้นแม้ว่าเราจะไม่กินเนื้อสัตว์ แม้ว่ามนุษย์จะไม่ฆ่าสัตว์ สัตว์ตัวนั้นก็ตายอยู่ดี
เหมือนในพระไตรปิฎก(มตกภัตตาชาดก รรถกถาเล่มที่ ๕๕ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ หน้า ๒๖๘)
ที่มีพราหมณ์คนหนึ่งไม่ฆ่าแพะ(ที่เป็นมนุษย์ที่เคยฆ่าแพะ มาเกิดเป็นแพะให้ผู้อื่นฆ่า) และพยายามดูแลแพะอย่างดี
สุดท้ายแพะตัวนี้ก็ตายอยู่ดี การไปกินเนื้อสัตว์ การไม่ฆ่าสัตว์ หยุดการตายของสัตว์ไม่ได้
สรุปว่า การไม่ทานเนื้อสัตว์แล้วได้บุญสร้างบารมี ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ไม่ใช่คำสั่งสอนในพุทธศาสนา และไม่ได้บุญไม่ได้บารมีใดๆเป็นพิเศษ
ใครที่นับถือศาสนาพุทธแล้วเชื่อว่า ไม่ทานเนื้อสัตว์แล้วได้บุญบารมี ถือว่ามีความเห็นผิด
ฉะนั้น ใครที่เชื่อว่าไม่กินเนื้อสัตว์แล้วได้บุญบารมี ก็ต้องถามตนเองก่อนว่า
ความเชื่อนี้เป็นของลัทธิใดหรือศาสนาใด หรือเป็นเพียงเรื่องที่เชื่อต่อๆกันมาเท่านั้น
วันนี้หากเรานับถือศาสนาพุทธ เราก็ควรจะเชื่อพระศาสดาของเราซึ่งก็คือพระพุทธเจ้า
หากจะถามว่าการกินเจได้บุญหรือไม่ ก็พอจะเทียบเคียงได้ว่า
ความตั้งใจที่จะไม่อยากให้มีสัตว์ตายเพิ่มขึ้น ถือได้ว่าเป็นจิตเมตตาอย่างหนึ่ง
จึงได้บุญในลักษณะการแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ ก็จะได้บุญในอีกแบบหนึ่ง
(แต่ไม่ได้บุญในลักษณะการไม่ทานเนื้อหรือไม่ฆ่าสัตว์)
ซึ่งการจะได้บุญแบบนี้ จะต้องมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นสมาธิ และแผ่เมตตาจิตออกไป
สรุปว่า หากเราอยากจะกินเจเพราะสบายใจ เพราะจิตเมตตา เพราะตามกระแส หรือเพื่อสุขภาพ ก็สามารถทานได้
โดยหากเรากินด้วยจิตเมตตาเราก็จะได้บุญจากความตั้งใจนั้น
แต่เราจะไม่ได้บุญจากการไม่กินเนื้อสัตว์(เจหรือมังฯ)
ณัฐพบธรรม
ผู้เขียน “ถ้ารู้…(กู)…ทำไปนานแล้ว”
หมายเหตุ : เนื้อหาส่วนที่ว่าพระเทวทัตเป็นผู้ขอไม่ให้ทานเนื้อสัตว์อยู่ในพระไตรปิกเล่มที่ 1 ข้อ 591 ดังรายละเอียดต่อไปนี้(และมีคำตอบของพระพุทธเจ้าอยู่ด้วยครับ)
[๕๙๑] ครั้งนั้น พระเทวทัตต์พร้อมด้วยบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มี
พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดย
อเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก
ปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่า
ตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาต
ตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุล
ตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้
ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าอาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลา
และเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย เทวทัตต์ ภิกษุใดปรารถนา ก็จงอยู่ป่า ภิกษุใด
ปรารถนา ก็จงอยู่บ้าน ภิกษุใดปรารถนา ก็จงเที่ยวบิณฑบาต ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีการ
นิมนต์ ภิกษุใดปรารถนา ก็จงถือผ้าบังสุกุล ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีผ้าคหบดี ดูกรเทวทัตต์
เราอนุญาตรุกขมูลเสนาสนะตลอด ๘ เดือนเท่านั้น เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ
๓ อย่าง คือ ๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน ๓. ไม่ได้รังเกียจ
ธรรมะ,สังฆทาน,สังฆทานที่ถูกต้อง,กฎแห่งกรรม,กฏแห่งกรรม,บุญ,บาป,บุญบาป,นรก,สวรรค์,ทำทาน,รักษาศีล,เจริญภาวนา,นั่งสมาธิ,เจริญสติ,ธรรมทาน,ณัฐพบธรรม
คุณต้องการเงินกู้เร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาความต้องการทางการเงินของคุณหรือไม่? เรามีเงินให้สินเชื่อตั้งแต่ 5000.00 ถึง 250,000,000.00 สูงสุดเรามีความน่าเชื่อถือมีประสิทธิภาพรวดเร็วและมีพลวัตโดยไม่มีการตรวจสอบเครดิตและเสนอเงินกู้ต่างประเทศที่รับประกัน 100% ในช่วงเวลาทั้งหมดที่นี่ นอกจากนี้เรายังนำออกเงินกู้ในสกุลเงินยูโรสเตอร์ลิงและอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ของเงินให้สินเชื่อทั้งหมดเป็น 2% หากคุณสนใจจะได้รับกลับมาให้เราผ่าน marycoleloanscompany3@gmail.com พร้อมข้อมูลต่อไปนี้:
ข้อกำหนดการใช้งาน
ชื่อ:
ประเทศ:
เมือง:
ที่อยู่:
จำนวนเงินที่ขอ:
เวลา:
อายุ:
เพศ:
อาชีพ:
ไม่มีโทรศัพท์:
ขอบคุณ
คุณ Mary
แล้วคิดกลับกันดูนะครับอันนี้ไม่รู้ว่าจะมีคนตอบเปล่านะ
กินเนื้อสัตว์ไม่บาปเพราะอะไร
แล้วถ้ากินเนื้อสัตว์แล้วสัตว์จะได้ประโยชน์อะไร
สัตว์มีพ่อแม่มีพี่น้อง ถ้าใครตายไปจะรู้สึกเศร้าเหมือนคนรึเปล่า
เกิดเป็นสัตว์เพราะอะไร
คนไปเกิดเป็นสัตว์ได้ไหม
ถ้าได้แล้วตัวที่เราจะกินเป็นญาติใครหว่า
ต้องสิกขาพุทธวจนะจากพระไตรปิฎกครับ โหลดโปรมแกรม E-tipitaka มาสิกขาก็ได้ อ่านให้ทุกคำไปเลยครับ อ่านช้าๆชัดๆหลายรๆรอบไปเลย จะได้เข้าใจว่าอะไรเป็นบุญอะไรเป็นบาป ขออนุโมทนากับท่านที่สิกขาธรรมในพระไตรปิฎกทุกท่านครับ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
เทศกาลกินเจนี่มันชั่งขัดกับเทศกาลตรุษจีนเนาะ แม่งชั่งตรงกันข้ามกันเลยอะ ผมงง กินเจงดกินเนื้อทุกชนิด แต่พอตรุษจีนทีนึงนี่นะ ฆ่าไปมากกว่าเป็นเท่าๆตัว ผมงง
เพื่อทำให้จิตใจสงบขึ้น .....ในชั่วขณะนึง และจะส้งผลระยะยาว
มุสลิมเองยังสอนให้มีการถือศีลอด เพื่อการยับยั้งชั่งใจ ว่าตนนั้นกำลังอยู่ในศีล จะทำอะไรให้คิดมากๆ ก็เหมือนกันคนกินเจ นัืนเป็นการช่วยเตือนสติให้เราอยู่ในศีลที่ดี ให้เราสงบขึ้น
ขออนุโมทนา สาธุๆๆ กับผู้กินเจ ผู้ที่มีเมตตาจิต ผู้ใจบุญ ทุกท่านด้วยนะคะ (เรายินดีที่จะทำดีมีเมตตาต่อไปโดยการไม่เบียดเบียนชีวิตของสัตว์น้อยใหญ่ในโลกใบนี้ค่ะ)
ก็คุณคิดหลักง่ายๆ ก็จบละพูดมาผมเห็นจะต้องอ่านเลย คุณกินไข่ ไข่เป็น 1 ชีวิต ถ้าคุณไม่กินก็สามารถปล่อย1 ชีวิต ไอที่คุณพูดก็ถูกมันไม่เกี่ยวกับการ ไม่กินและจะไม่ฆ่า แต่ถ้า คนกิน เจ 10 อัตรา การฆ่าหมูลดลงไหมละ หรือ ว่าเค้าจะขายเท่าเดิม ทั้งๆที่ ปริมาณ ผู้กินลดน้อยลง เข้าใจง่ายไหมละครับ
การรณรงค์ลดบุหรี่ ก็มีผลกับยอดขายการผลิตบุหรี่ ถ้าคนหันมากินเจมากขึ้น ก็จะกระทบกับผลผลิตของการฆ่าสัตว์ด้วย
การกินเจถือเป็นการฝึกจิตใจ ลดกิเลส ลดความอยาก นึกถึงสีตว์ที่เราเคยเบียดเบียนตลอดเวลา หันมาบริโภคสิ่งที่ไม่ต้องมีการตกใจกลัวในการฆ่า เวรกรรมของใครก็ของคนนั้น เป็นการไม่เอาตนเองไปผูกเวรผูกกรรมกับผู่ชดใช้กรรม ถือศีลอด มีเมตตา ทำให้ใจเย็น รู้คิดทุกจานที่กิน คิดถึงชีวิตของผู้อื่น อาจไม่ได้บุญจากการไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ได้บุญทางอื่นแน่นอน อย่างน้อยๆ ก็ทำให้จิตใจสบายขึ้น และสุขภาพดีขึ้น ทั้งนี้ทั่งนั้น ขึ้นอยู่กับการรักษาสมดุลย์ของการหารด้วย และนอกจากไม่เบียดเบียน เราต้องไม่ว่าร้ายต่อผู้ไม่ทานเจ เพราะไม่มีใครผิด ทำดี ทำบุญกันได้ทุกรูปแบบ ทำได้ทุกวัน เคารพในความคิดของคุณณัฐ และเคารพในความตั้งใจของผู้กินเจทุกคน
ผู้หญิงสามคมที่เหยียบหมาตาย กินเจคงได้บุญเยอะเลย
กินเจแต่จิตใจยังต่ำทราม จะได้บุญจากไหน
ในขณะเดียวกัน
ก็มีข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า
ในพืชจะมีกรดอะมิโนบางชนิดน้อยกว่าในเนื้อสัตว์
หากเรากินแต่พืช เราจะขาดสารอาหารบางประเภท
และในพืชมีวิตามินเกลือแร่บางอย่างสูง
หากกินแต่พืชอย่างเดียว อาจได้รับวิตามินเกลือแร่มากเกิน
นักวิทยาศาสตร์ท่านบอกว่า ร่างกายคนเรา มีระบบ และ ธรรมชาติ ออกแบบมาให้ กินพืช เพราะน้ำย่อยน้อย จะย่อยยาก ดีเอ็นเอ ตรงกับสัตว์กินพืช การบริโภคเนื้อสัตว์ อาจจะ ส่งผล ด้านอารมณ์ ด้านฮอร์โมน ทำให้ เป็นคนอารมณ์ร้อน บ้าเลือดเหมือนสัตว์ เพราะในเนื้อเต็มไปด้วยฮอร์โมน ถ้าจะระงับการกินเนื้อควรจะ ไม่กิน เนื้อ ไก่ หมู วัว ควาย เนื้อแดงๆ สัตว์ใหญ่ทุกชนิด เพราะสัวต์เหล่านี้เลี้ยงเพื่อจำหน่าย มียาฮอร์โมนเร่งเนื้อ ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งและเนื้องอกได้ และในการย่อย ทำให้เกิด อนุมูลอิสระหลายเท่ากว่าผัก ผลไม้ และเนื้อขาว ควรจะหันมาบริโภค อาหารทะเล เนื้อปลา ในการกินเจ ก็ต้องให้ถูกสุขลักษณะด้วย และ รับประทาน ของมัน และ น้ำตาล ให้ ปกติ ซึ่งในอาหารเจ ยังมีมากเกินปกติ พูดง่ายๆๆ ให้นำข้อดี ทั้ง 2 มารวมกัน แล้วชีวิตจะดีขึ้น สารอาหารจะครบถ้วน ไม่ต้องอ้างบุญและบาป เพราะบุญบาป วัดกันที่เจตนาเป็นหลัก ไม่มีอะรัยถูกเสมอ ดีเสมอ หากต้องเข้าใจและคิดถึงหลักความเป็นจริง ชีวิตทุกชีวิต ย่อมมีคุณค่า หากมีผู้ใดมารังแกตามฆ่า เราก็คงไม่สบายใจ และ หากไม่อาศัยสารอาหารจากสัตว์บางชนิด ร่างกายเราอาจจะเจ็บป่วยรุนแรงได้ ลด ละ เลิก อบายมุขทั้งปวง และ ไม่ทารุณกรรมสัตว์ มีจิตเมตตา และเรียนรู้พระธรรม ก็นับว่า ดีงามแท้แล้ว สัพเพ สัพตา สัตว์ทั้งหลายเกิดมาชดใช้กรรม หากชีวิตที่ดับขันธ์ลงไป อาจเกิดจากอุบัติเหตุ คือ ความไม่เจตนา และการฆ่า คือ การเจตนา เป็นแน่แท้ หากกินเจ แค่ 10 วัน คือกุศโลบายให้มีจิตเมตตา งดเนื้อ หรือล้างระบบร่างกาย ใน 1 ปี ก็นับว่า เป็นสิ่งที่ บรรพชนคิดค้นด้วยปัญญา แล้ว การกินเจ มีสารอาหารครบถ้วน แค่เวลา กินเจ 10 วัน ใน 1 ปี คงไม่มีคัยตาย เพราะไม่กินเนื้อ หลังจากนั้นยังกินได้สบาย มันคือ วิธี ชำระจิตใจ พักร่างกาย ให้สงบ ขึ้นอยู่กับผู้ปฎิบัติ ห้ามมองที่เทศกาลเจ จะดี จะไม่ดี อยู่ที่ผู้ปฎิบัติ หากบริโภคเนื้อสัตว์ต่างๆๆเยอะไป เลือดในเนื้อ คือ สันดารของสัตว์ คัยรับไปมาก บริโภคไปมาก สันดารย่อมไม่แตกต่างจากสัตว์เหล่านั้น ........กินให้รู้ จะเกิดปัญญา เมื่อใดที่ไม่มีการฆ่า โลกจะสงบสุข เพราะ จิตใจคน จะสะอาด ควรใช้ชีวิตตามหลัก เสรีของท่านเถิด เหมือนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เสรี
ที่ว่า พระพุทธเจ้าและคนยุคพุทธกาลกินเจ
อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มไหนครับคุณ pang
ใครบอกไว้หรือว่าพระพุทธองค์ท่านฉันเนื้อ?
ผู้ใดก็ตามที่ยังตัดจากกรรมทั้งอดีตชาติและปัจจุบันชาติยังไม่ได้นั้นย่อมกลับคืนนิพานได้ยากแต่พระพุทธองค์ท่านหมดสิ้นจากกรรมทั้งหมดแล้ว การที่ท่านหมดเวรหมดกรรมทุกอย่างจนสามารถกลับคืนนิพานได้นั้น แสดงว่าท่านสร้างแต่กรรมดีไม่จองเวรใครอีก การไม่จองเวรคือการไม่กินเนื้อทุกชนิดและอื่นๆ อะไรที่มีชีวิตเขาก็ย่อมรักชีวิตของเขาถ้าเรากินเขาเท่ากับเราไปทำให้เขาเจ็บปวดทรมาน เป็นเหตุให้เขาต้องมาอาฆาตแค้นและรอเวลากินเราคืนถ้าเป็นเช่นนี้เราก็ต้องกลับมาเกิดในชาตฺต่อๆไปเพื่อให้เขาได้ร้างแค้นคืนจะเป็นกลับไปมาเช่นนี้อีกหลายชาติ
การที่เรามีกรรมติดตัวมามากมายนั้นปากของเราก็มีส่วน ไม่ว่าจะใช้พูดถากถางผู้อื่น พูดคำหยาบ พูดให้คนแตกแยกทะเราะกัน
รวมทั้งการกินด้วย การกินเจจะไม่ได้บุญ และไม่ได้บาป ตั้งแต่อดีตกาลนานมาแล้วผู้คนในสมัยก่อนท่านเหล่านั้นล้วนแต่เป็นผู้มีจิตเมตตาเพราะฉนั้นในสมัยที่พระพุทธเจ้าท่านยังมีชีวิตอยู่จึงมีคนส่วนมากที่กินเจ เพราะผู้คนเหล่านั้นได้เข้าใจในศีลข้อที่ 1 ที่พระพุทธองค์ท่านตรัสไว้ อย่างชัดเจน คำว่าห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิตห้ามเบียดเบียนผู้อื่น เราอ่านเราได้ยินคงจะไม่มีใครแปลไปต่างจากนี้อีกแน่นอนเพราะความหมายของมันตรงตัวอยู่แล้ว
อยากให้ทุกคนลองสังเกตลำไส้ของคนกับลำไส้ของสัตว์กินพืชดูนะคะ สังเกตฟันของเราด้วย ว่าเหมือนกันกับสัตว์ที่กินพืชหรือเปล่า ลำไส้ของเรากับสำไส้ของวัว ควาย อื่นๆ ที่กินพืชจะมีขนาดที่ยาวกว่าสัตว์ที่กินเนื้อ มีกรดในกระเพาะเป็นกรดอ่อนๆสำหรับย่อยพืชไม่ใช่ย่อยเนื้อ มีดวงตาที่มองเห็นแค่ตอนกลางวันเท่านั้น แต่สัตว์ที่กินเนื้อจะมองเห็นในเวลากลางคืนได้ จมูกของเราไม่ไวต่อกลิ่นเท่าจมูกของสัตว์ที่กินเนื้อ การดื่มน้ำก็ไม่เหมือนกันคนเรากับวัว ควาย ช้าง อื่นๆ จะดื่มน้ำโดยที่จะใช้ปากดูดเอาน้าเข้าปาก แต่สัตว์ที่กินเนื้อจะใช้ลิ้นเลียเพื่อเอาน้ำเข้าปาก คนและสัตว์กินพืชจะมีอายูที่ยืนยาวกว่าสัตว์กินเนื้อ การหายใจก็สูดหายใจได้ยาวกว่าสัตว์กินเนื้อ มีอารมณ์ที่เยือกเย็นกว่า มีการระบายความร้อนออกทางรูขุมขนเหมือนสัตว์กินพืช แต่สัตว์ที่กินเนื้อนั้นจะระบายความร้อนออกทางลิ้น และอื่นอีกมากมายที่เราเหมือนสัตว์กินพืช
นี่อาจจะเป็นข้อพิสูจย์ได้ว่าที่จิงแล้วเราเป็นสัตว์กินพืช ถ้าเราเป็นสัตว์กินพืชดังนั้นการกินเจ ก็จะไม่ได้บุญและไม่บาปเพราะการกินเจ อาหารที่เป็นพืชนั้นเป็นอาหารของเราอยู่แล้ว กินมาแต่อดีตแล้ว ถึงแม้กินเจก็ไม่ทำให้เราได้บุญเพิ่มแต่อย่างใด แต่สิ่งที่เราจะได้จากการกินเจนั้นคือ สุขภาพเราจะดี เทวดาก็รักษา หุ่นก็ดี ไม่ได้ก่อกรรมเพิ่ม ทำให้จิตสงบขึ้น
ผิวพรรณก็ผ่องใสมีสง่าราศีต่อผู้พบเห็น เจ้ากรรมนายเวรไม่เพิ่มขึ้น คนทั่วไปที่กินเนื้อเวลาทำบุญก็เหมือนกับเอาตะกล้าที่มีรูรั่วไปตักน้ำ ส่วนคนที่กินเจรูรั่วนั้นก็ค่อยๆหายไปทำให้ตะกล้านั้นไม่มีรูเวลาไปตักน้ำก็ได้น้ำเต็มตะกล้าไม่รั่วหายไปไหน
จึงทำให้ผู้ที่กินเจได้เปลียบเวลาทำบุญย่อมได้บุยกุศลมากกว่าไม่รั่วหายไป และถ้ากิจเจด้วยถือศีลครบถ้วนด้วยทำบุญไปด้วยยิ่งทำให้ล้างกรรมเก่าได้เร็ว แม้จะยังไม่หมดแต่ในอนาคตหมดแน่นอนและเมื่อใดที่กรรมเราหมดเราจะไม่มีใครมาจองเวรจะไม่มีกรรมที่จะทำให้เรากลับมาเกิดเพื่อชดใช้อีก ถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็จะได้กลับนิพานบ้านเดิมของเราได้ นี่คือสิ่งที่พระพุทธองค์ท่านกระทำ
ขอให้ทุกคนหันมากินเจกันเถิดเพื่อตัวของท่านทั้งหลาย
อ่านไปอ่านมาจนลืมหมดว่าหัวข้อกระทู้เขาว่าไง เราจึงอยากแสดงความคิดเห็นมั่ง
จริงหรือ...ที่ว่ากินเจแล้วเราได้บุญ สร้างบารมี...ใครบอก ??
เราคิดว่าการกินเจเป็นการเฉพาะบุคคลใครกินก็สบายใจแล้วแต่จะศรัทธาเป็นการสร้างบารมีไม่เบียดเบียนผู้อื่นเป็นการฝึกตนให้มีความอดทนในการไม่ยึดติดกับรสชาติอาหารแล้วเราไม่ขออ้างอิงจากตรงไหนกลัวว่าอ้างอิงผิดแล้วเกิดการเข้าใจผิดได้
สำหรับผู้ที่ปฎิบัติเราคิดว่าอย่างน้อยควรรักษาศีลห้าให้ดีจึงจะไปได้ไวมากกว่า..
“ผู้ที่กินเนื้อของสัตว์ที่ตายเอง ก็ให้รู้สึกเหมือนดั่งกินเนื้อของลูกตนเองที่ตายลงในทะเล ทราย”
ไม่มีนะครับมหายาน บิดเบือนคำสอนครับ มั่วสุดๆ ที่มาของคำนี้คือ
พระพุทธเจ้าสั่งสอนเหล่าภิกษุว่าควร ไม่กินแบบอิ่มเกินไปยึดติดรสในอาหารมากเกินไป งั้นควรจะกินแบบไหนที่จะได้ชื่อว่า อยู่เพื่อกิน ไม่ได้กินเพราะอยาก เพราะอร่อย
ท่านเปรียบว่า มีพ่อแม่ลูก หลงทางในทะเลทราย แล้งต้องจำใจเชือดลูกกิน เอาเนื้อมาตากแห้ง เป็นเสบียง แล้วก็เพ้อหาลูกไปด้วยเพราะอาลัย
ถามว่ากินแล้วอร่อยติดรสไม่ >>>ไม่
กินแล้วอยากกินอีกเยอะๆมั้ย >>> ไม่ กินแทบไม่ลง แต่ก็ต้องกินเพราะมันจำเป็น
พระพุทธเจ้าเปรียบให้เหล่าภิกษุทั้งหลายฟังดังนี้ครับ จากพุทธวจนะ จากปากพระโอษฐ์เลย
ถามคุณ นักรบ 3 จชต.2 ข้อครับ
1. สิ่งที่เขียนอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มไหนครับ โดยเฉพาะที่บอกว่าพระพุทธเจ้าทรงคิดอย่างนั้นอย่างนี้
2. คิดว่าคนในยุคพุทธกาล มีแต่คนที่เอาเนื้อที่ตายเอง(แบบที่คุณอธิบาย)มาทำบุญ
หรือมีสภาพไม่ต่างจากที่ทำกันในปัจจุบันครับ
ศีลข้อที่ 1 ว่าด้วยการไม่เบียดเบียนชีวิต ถ้าคำว่า พึงละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ไม่ได้หมายความถึงพึงละเว้นการเสพเนื้อสัตว์ ด้วย ศีลข้อที่ 1 ก็ไม่มีผลในทางปฏิบัติเพราะจะมีการกินเนื้อสัตว์ไม่ได้เลยถ้าไม่มีการฆ่าสัตว์เสียก่อนการกินเนื้อ สัตว์ทำให้เกิดการฆ่า ถ้าหยุดกินก็คือ หยุดฆ่าด้วย
พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญูล่วงรู้ทุกสิ่ง เกินกว่าปัญญามนุษย์ธรรมดาจะหยั่งถึง การที่พระพุทธองค์ตรัสถึง“เนื้อที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ ถือว่าเป็นเนื้อที่บริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้กินได้นั้น” หากเราใช้ปัญญาที่มีอยู่เพียงน้อยนิดก็คงทราบว่า เนื้อที่ไม่รู้ไม่ เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจเลยว่าเขาฆ่าเพื่อเจาะจงมาให้ตนกินนั้นในโลกนี้ มีด้วยหรือ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าคือ “เนื้อบัง สกุล” หมายถึงเนื้อของสัตว์ที่ตายเอง คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเนื้อที่ขายในตลาดเป็นเนื้อบัง สกุลเพราะ “ตายแล้ว” ซื้อมากินไม่ผิด ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เนื้อสัตว์ที่ขายในตลาดทุกชิ้นไม่ใช่เนื้อบังสุกุลอย่างที่เข้าใจกัน” ล้วนเป็นเนื้อของสัตว์ที่ถูกฆ่าตายทั้งหมด ยิ่งสมัยนี้ถ้ารู้ว่าสัตว์ตายเองไม่มีใครกล้ากินเพราะกลัวติดโรคกันทั้งนั้นท่านพุทธทาสได้เคยอธิบายเกี่ยวกับเนื้อบังสุกุลอันถือว่าเป็นเนื้อที่บริสุทธิ์สำหรับคนที่ จะกินว่า “ผู้ที่กินเนื้อของสัตว์ที่ตายเอง ก็ให้รู้สึกเหมือนดั่งกินเนื้อของลูกตนเองที่ตายลงในทะเล ทราย” ก็คือหากเราต้องไปหลงทางในทะเลทรายตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีทางเลือกอื่น ใด ไม่มีอะไรที่พอจะกินได้แล้ว จึงต้องจำใจกินเนื้อลูกของตนที่ตายไปก่อนเพื่อประทังชีวิตให้รอดไปได้เท่า นั้นผู้กินเนื้อบังสุกุลก็ควรรู้สึกอย่างนี้
มีข้อสงสัยอย่างมากของชาวพุทธ ก็คือพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติ “ห้าม” พระสงฆ์สาวกไม่ให้ฉันปลาและเนื้อเพราะเหตุอะไร ในข้อนี้ มีคำอธิบายว่าพระบรมศาสดาทรงเป็นพระสัพพัญญูมีพระญาณล่วง รูทุกสิ่งพระองค์ย่อมต้องรู้ว่า อีกนับเป็นพันปีในกาลข้างหน้าพระพุทธศาสนาจะแผ่กระจายไปทั่วโลกหากพระ พุทธองค์ทรงบัญญัติ “ห้าม” กุลบุตรผู้ที่จะเข้ามาสู่ศาสนาของพระองค์ไม่ให้กินเนื้อสัตว์เสียตั้งแต่ที่ แรกโดยยังไม่ทันได้รู้ถึงหลักธรรมอันถูกต้องก็คงไม่มีใครจะก้าวเข้ามาศึกษา อันเป็นการปิดกั้นหนทางของกุลบุตรผู้มีวิสัยอันจะฝึกตนให้ดีได้
สำหรับพระบรมศาสดาแล้วพระองค์ไม่เคยใช้คำว่า “ห้าม” เลยในคำเทศนาสั่งสอนทั้งหลาย แม้ในคราวที่ทรงสรุปหลักธรรมอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาคือพึงละเว้นความ ชั่วทั้งปวง พยายามทำแต่ความดี และทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส พระองค์ทรงตรัสให้ “พึง” ละเว้น หมายถึงความชั่วทั้งหลายชาวพุทธควรเว้นไปเสียที่ละได้ก็ควรละเสีย เหตุไฉนไม่ทรงตรัส “ห้าม” ไม่ให้คนทำชั่ว ในโลกนี้มีใครสั่งห้ามคนไม่ให้ทำชั่วได้ทั้งนี้เพราะคนเป็นสัตว์โลกที่มี สมองมีอำเภอใจที่เลือกเองระหว่างความดีและความชั่วแต่น่าเสียดายที่คนจะ เลือกอยู่ฝ่าชั่วเสมอ พระบรมศาสดาผู้ยอดยิ่งทุกพระองค์ที่มาจุติในโลกนี้ หากสามารถ สั่งห้าม มนุษย์ทั้งหลายไม่ให้ทำความชั่วได้ ในโลกนี้ยังจะมีคนทำความชั่วอยู่อีกหรือ พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าพระองค์ก็ไม่ทรงอาจสั่ง ห้าม ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=18128
ชอบกลอนของคุณ สรรญเสริญ มากค่ะ เห็นภาพเลย ส่วนตัวเราคิดว่าคนที่คิดว่าคนกินเจนั้นไม่ได้บุญก็ไม่ต้องไปโกหรธเขาเพราะเขาศึกษาธรรมมาไม่มากพอประกอบกับปัญญายังไม่เกิดการที่จะมีเมตตาพอที่จะไม่กินสัตว์ได้นั้นก็ถือว่าเป็นการละกิเลสได้อย่างนึงเวลาทำสมาธิจะเข้าถึงสมาธิเร็วไม่วอกแวกง่ายและหากฝึกกรรมฐานจะยิ่งต้องเข้าใจว่าตัวเราไม่ใช่ของเราในร่างกายเรามีแต่สิ่งเน่าเหม็นเป็นที่อยู่ของซากพืชและซากสัตว์ที่เรากินเข้าไปไม่ได้สวยได้งามอย่างที่เห็น ชีวิตเรามันสั้นนักควรทำความดีให้มากตายไปจะได้ไม่เสียดายว่าอุตส่าได้เกิดมาเป็นคนแล้วยังต้องโมฆะไปหนึ่งชาติโดยไม่ยังประโยช์ไรไว้เลย
แต่สำหรับคนที่ละไม่ได้จริงๆๆตอนนี้ก็ไม่ต้องเครียดคืออย่าทำไรสุดโต่งคือเริ่มจากละเว้นสัตว์ใหญ่ก่อนแล้วทำความดดีอย่างอื่นได้อีกมากค่ะเพราะบางครั้งคนเราทำบุญมาไม่เท่ากันก็เลยเห็นแตกต่างกันเห็นไม่เท่าทันกันเอาเป็นว่าลองศึกษาธรรมมะมากๆหน่อยจะเริ่มเข้าใจเองค่ะ
ถือซะว่าการกินเจเป็นการถือศีลอย่างนึงได้ประโยชน์ตรงที่มีสุขภาพแข็งแรงและผิวพรรณดีร่างกายแจ่มใสถ้ากินติดต่อกันสักระยะจะรู้ว่าไม่ได้ทรมานหรือไม่มีเรี่ยวแรงอย่างที่บางคนเข้าใจนะร่างกานจะปรับตัวได้เองส่วนตัวเรากินมาได้เกือบปีแล้วรู้เลยว่าผิวพรรณดีขึ้นร่างกายไม่เจ็บป่วยแล้วก็ทำไรประสบความสำเร็จง่ายเราไม่เบียดเบียนเค้าเค้าก็ไม่เบียดเบียนเราค่ะ
แต่ผมว่าทุกคนมีจิตเมตตาก้ดีนะไม่เบียดเบียนชึ่งกันและกัน
ใช่ครับคุณ สุวรรณ์ อาจจะโกรธ
แต่โกรธเพราะทำลายศพ ไม่ได้โกรธเพราะฆ่า
เป็นบาปคนละอย่างครับ จึงไม่เกี่ยวกับบาปฆ่าหรือไม่ฆ่าครับ
สิงโตฆ่ากวางตาย ลูกกวาง แม่กวาง เพื่อนกวางก็จะโกรธแค้น สาปแช่ง กวางเองก็คงรักและหวงชีวิตตนเอง เมื่อตายไปแล้วแร้งมากินซากก็คงจะบาดตาบาดใจพี่น้องกวางที่อาลัยอาวรณ์ ยึดติดเหล่านั้น สมมุติรถชนแม่เราตายแล้ว หนีไป รถอีกคันตามมา เหยียบซ้ำเนื่องจากมองไม่ชัดและเบรคไม่ทัน เราจะโกรธรถคันที่สองมั้ยนะ ทุข์สุขอยู่ที่ใจถ้าทำแล้วสุข คือบุญ ทำแล้วทุกข์ใจ คือ บาป
ลองเข้าไปในโรงฆ่าสัตว์แล้วจะรู้ว่า ยังจะกินเนื้อลงอีกหรือ
ขออนุญาตแชร์ให้เพื่อนนะคะ
ถ้านับถือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา ก็เชื่อท่านตามพุทธพจน์ครับ
สาวกคือผู้นำคำสั่งสอนนั้นมาปฏิบัติ
ทีนี้อาจจะมีคนหัวหมอแย้งขึ้นมาว่ารู้ได้อย่างไรว่าเป็นพุทธพจน์เพราะเวลาผ่านมากว่า 2500 ปีแล้ว
อันนี้ให้ไปสืบพิสูจน์กันเองครับ คำสอนใดขัดแย้งกันเอง ให้สงสัยว่าไม่ใช่พุทธพจน์
พระสงฆ์เองก็ยังฉันเนื้อสัตว์ ภิกษุต้องเป็นผู้เลี้ยงง่ายอยู่ง่าย
ถ้าท่านอยากฉันของเย็นกลับได้ของร้อนใส่บาตร อยากฉันของร้อนแต่กลับได้ของเย็นใส่บาตร นี่เป็นวิธีกำจัดกิเลสของการกินวิธีหนึ่งครับ
ถ้าจะบัญญัติอะไรขึ้นมาใหม่ก็ควรตั้งศาสนาใหม่ขึ้นมา ไม่ใช่เอาพุทธมาบิดเบือน หรือตัด/ต่อพุทธพจน์ :)
กำลังจะตั้งใจกินเจคะเพราะสงสารสัตย์ก่อนที่เขาจะถูกฆ่ามาให้เรากินแต่ก็จะยังคงกินไข่ไก่อยู่
ผมหา ลักาวกาลสูตร ไม่เจอนะครับ
และผมคิดว่าคงเป็นเรื่องแปลก
หากพระเทวทัต ขอให้พระเลิกฉันเนื้อแล้วพระองค์ไม่อนุญาต
แต่พระองค์กลับมาเลิกฉันเสียเอง
ส่วนเรื่องตระกูลศากยนั้น ไม่ว่าคนในตระกูลจะทำหรือไม่ทำอะไร
ก็ไม่ได้แปลว่าสิ่งนั้นถูกต้องนะครับ
เพราะเขาไม่ได้บรรุลธรรมแบบพระพุทธเจ้าครับ
พระพุทธเจ้าทรงบัณยัติไว้ในพระไตรปิฎก ในลักาวกาลสูตร คุณลองไปหาอ่านดูนะครับ
พระพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ อยู่ในตระกูลศักยวงค์ ทุกวันนี้ ตระกูลศักยวงค์ในประเทศอินเดียก็ไม่กินเนื้อ
ถ้าพระพุทธเจ้าฉันท์เนื้อ แล้วไม่ห้ามเรากินเนื้อก็เป็นเรื่องน่าคิดแล้วนะ
คุณรองคิดดูว่า เน้้อสัตว์ที่เรากินต้องฆ่าให้ตาย เราถึงกิน แล้วถ้าเราไม่กินมันจะถูกเขาฆ่าใหมครับ
เราต้องใช้ปัญญาคิด ตามหลักเหตุความเป็นจริง คือหลักสัจธรรมนะครับ
จาก คนศึกษาอนุตตรธรรมพนัสนิคม
สิ่งที่ยกมาเรื่องพระพุทธเจ้า บำเพ็ฐทุกรกิริยา แล้วหันมาทางสายกลาง
ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าไม่ยึดติดในธรรมนะครับ
ตรงกันข้าม เป็นการแสดงให้เห็นว่า เส้นทางแห่งธรรมคือเส้นทางไหน
หากเราต้องการจะเดินให้ถูกทาง เราก็ต้องเดินทางนั้นครับ
ซึ่งคำว่าทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงนั้น ก็หมายถึงมรรค 8
ไม่ได้หมายถึงการไม่ยึดติดในธรรมใดๆเลยนะครับ
เราต้องระวังการไม่ยึดคัมภีร์ใดๆเลย
จะกลายเป็็นการยึดเอาตัวเองเป็นหลัก
ซึ่งตัวเราเองยังมีกิเลสตัณหา และไม่ได้รู้แจ้งทุกอย่าง
ทางที่เรายึดเอาตัวเองเป็นหลัก จึงมีโอกาสเป็นทางที่ผิดได้ครับ
สาธุ...ขออนุโมทนากับผู้ที่แสดงความคิดเห็นที่ดีและมีเจตนาที่ดี พระพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ที่คิดนอกกรอบไม่ยึดติดในธรรมะเห็นได้จากตอนที่ท่านบำเพ็ญเพียรอยู่กับปัญจวัคคีย์ทั้ง๕ พอบำเพ็ญไปสักระยะเห็นไม่ใช่ทางที่จะสำเร็จได้ จึงได้เลิกหันไปเดินทางสายกลางแทน ทำให้เหล่าปัญจวัคคีย์ไม่พอใจถึงกับต่อว่าท่านที่ไม่มีความอดทน และเมื่อท่านพบกับทางสำเร็จที่แท้จริงท่านจึงกลับมาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง๕ ผมว่านะไม่ต้องไปยึดถือในคัมภีร์ต่างๆมากเอาเป็นแนวทางพอ สิ่งไหนดีทุกคนพิจารณาเองได้ด้วยกันทั้งนั้น ผมจำคำในคัมภีร์ทุกเล่มที่ผมอ่านไม่ได้แต่ผมเข้าใจว่าในคัมภีร์นั้นสื่อถึงอะไร ถ้าทุกคนเข้าใจก็จะปราศจากคำถาม ข้อโต้แย้งต่างๆ ส่วนตัวผมชอบในวลีสั้นๆนี้ "ปล่อยให้ว่าง วางให้เป็น เย็นให้พอ"
เพิ่มอีกนิด เรากินมังสวิรัติ แต่ไม่ได้เคารพบูชาลัทธิอะไร เราเป็นชาวพุทธที่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
เรากินมังสวิริติ (ไม่ใช่กินเจ) เพราะสงสารเพื่อนร่วมโลก
จริงอยู่ แม้เราไม่ได้เข้าป่าล่าสัตว์ หรือแล่เนื้อเถือหนังเขาด้วยตนเอง แต่ถ้าเรายังเป็นผู้บริโภค ก็คือการทำให้เกิด butterfly effect คือเป็นหนึ่งในคนทั้งหลาย ที่เป็นเหตุให้เพื่อนร่วมโลกต้องตาย เพื่อเป็นอาหาร
และเราเว้นขาดจากการเป็นผู้ฆ่าเพื่อนร่วมโลกโดยเจตนา เช่นเดียวกับ เว้นขาดจากการบริโภคเขาเหล่านั้น
เมื่อก่อนก็เคยหลงผิดกินเจ...เพื่อหวังจะได้บุญไป 9 เดือน..สุดท้าย ได้เลือดจาง และโรคอีกเพียบ เพราะกันไม่ถูกต้อง
อันนี้ก็เป็นมิฉาพิฏฐิตัวหนึ่ง
ตอบคุณไม่ระบุนามว่า
ผมไม่เห็นหรอกครับ แต่ในพระไตรปิฎกก็อธิบายชัดเจน
พระพุทธเจ้า"ห้าม" ไม่ให้พระเลือกฉัน ด้วยการเลิกฉันเนื้อสัตว์
เพราะจะทำให้ฆารวาสลำบากในการทำบุญ
ด้วยเหตุนี้ฆารวาสทุกคน ก็จะทำบุญโดยมีส่วนผสมของเนื้อสัตว์
ซึ่งพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ก็ฉันอาหารทั่วไป ไม่ได้เลือก
จึงเป็นการฉันเนื้อสัตว์ครับ(คิดตามก็คงเห็นภาพ และเข้าใจได้ไม่ยาก)
แล้วคุณไม่ระบุนามหล่ะครับ
พอจะเอาที่อ้างอิงในพระไตรปิฎก
ที่พอจะทำให้เชื่อได้ว่า
พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ไม่ฉันเนื้อสัตว์ไหมครับ
เรื่องนี้เถียงกันยังไงก็ไม่จบครับเอาเป็นว่าใครเชื่อแบบใดก็ทำแบบนั้น แต่ผมเชื่อในพระพุทธเจ้าครับ.
การฝึกกรรมฐานต้องมีใจอยู่ในพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ก็เป็นส่วนสำคัญ แต่จากประสบการณ์ของตนเองที่ฝึกกรรมฐานก็ไม่เห็นเกี่ยวกับกินเจ เพราะเรากินอาหารเราไม่ได้ยึดว่า เรากินผัก หรือเรากินเนื้อสัตว์ การไม่ได้กินเจก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีเมตตา เพราะจริงๆแล้วสายตรงสู่นิพพาน คือตัดอัตตา ค่ะ ต้องมองทุกอย่างให้เป็นอนัตตา ดังนั้นถ้าคุณมามัวกังวลอยู่กับกินเจ ไม่กินเจ ก็ไม่ถึงนิพพานหรอกค่ะ รู้จักทุกข์ ทางดับทุกข์ แล้วก้ดับทุกข์ ก็ถึงนิพพาน เป้าหมายของพระพุทธศาสนาคือนิพพาน ทางไปสู่นิพพาน ก็อริยสัจสี่ และบารมี 10
ตอบคุณ คนกินมัง ว่า
ผมไม่ได้ต้องการ ชี้ว่าใครได้บุญใครไม่ได้บุญ
แต่ผมต้องการชี้ว่า เมื่ออ้างอิงพระไตรปิฎก มีเกี่ยวกับการกินเจได้บุญหรือไม่
หากเราจะเอาความคิดความพอใจเราเป็นหลัก
เรื่องนี้คงไม่มีทางจบ เพราะ"ใครจะคิดอย่างไรก็ได้"
ผมถึงได้เน้นย้ำเป็นประโยคแรกว่า
บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธเถรวาท "เท่านั้น"
เพราะเราจะยึดเอาพระไตรปิฎกเป็นหลัก
ส่วนเรื่องจิตเมตตา ผมได้บอกไปในบทความแล้วว่า ได้บุญ
แต่เป็นบุญจากจิตเมตตา ไม่ใช่บุญจากการไม่กินเนื้อสัตว์
คนที่ตั้งใจงดเว้นการกินเนื้อสัตว์ก็มีเจตนาดีที่่ไม่ต้องการเบียดเบียนชีวิต แน่นอนว่าสัตว์อาจตายแล้ว เราไม่กินเขาก็ตาย แต่ถ้าเขาทำจนเป็นประจำมองง่ายๆ อย่างน้อยเนื้อสัตว์ก็ขายไม่ได้ในบ้านเขา ถ้าความคิดขยายต่อ ก็ลดการฆ่า การขาย ในชุมชนใกล้ตัวเขา
การที่คนต้องการกินเนื้อสัตว์แล้วนั่งอธิบายว่าคนไม่กินเนื้อสัตว์ไม่ได่มีผลอะไรกับความมีชีวิตของสัตว์ ดูแล้วเริ่มกลายเป็นเจตนาที่จะเบียดเบียนความเชื่อของผู้อื่นไปแล้วรึเปล่า
การกินเจได้บุญแน่นอนถ้าเจตนาวางบนพื้นความรัก เมตตาต่อสรรพสัตว์ และไม่คิดดูหมิ่นให้ร้ายคนที่ไม่คิดแบบตัวเอง
ในส่วนของพระ ท่านไม่ได้ชี้ว่าท่านจะฉันอะไร ท่านมีชีวิตด้วยศรัทธาญาติโยมจัดถวาย
การที่เราบอกตัวเองว่า จะกินหมูทอดกระเทียมแสนอร่อย กุ้งเผาร้านนี้สดมาก หอยแครงลวกร้านนี้สุดยอด สเต็คลูกวัวนี่นุ่มจนละลายในปาก ฯลฯ แบบนี้ไม่ได้ส่งเสริมการฆ่าหรือไร
ผมไม่เห็นด้วยกับการมาชี้ว่าใครได้บุญใครไม่ได้บุญ เพราะผมเชื่อว่าสิ่งที่ทำจากจิตที่เมตตา ไม่คิดเบียดเบียน กุศลก็เกิดแก่ผู้นั้นแล้ว
สิ่งที่คุณ ผู้ปรารถนาสาวกภูมิ เขียนนั้น ถูกต้องแล้วครับ
"ทุกคน" ย่อมตีความเนื้อหาในพระไตรปิฎกผิดได้
ฉะนั้น ก็ควรอ่านเนื้อหาจากพระไตรปิฎกที่ผมอ้างอิง แล้วพิจารณาเอาเอง
หากเชื่อว่ากินเจได้บุญก็ทำตามที่ชอบ
แต่ถ้าความจริงไม่ได้บุญ แล้วเราไปบอกคนอื่นเราจะได้บาป
เช่นเดียวกัน หากการกินเจได้บุญ แล้วผมบอกว่าไม่ได้บุญผมก็ได้บาป
(เรื่องภาษาก็ต้องน้อมรับ เพราะเป็นบทความที่ Copy มาจากเมลที่ส่งให้ผู้อื่น โดยไม่ได้ปรับแก้ภาษาให้เหมาะสม)
จะมีเพียงเรื่องเดียวที่ผมต้องการชี้แจงก็คือ
ผมไม่ได้บอกว่า การทำบุญที่ได้บุญน้อย ไม่ควรทำ
เพราะการทำบุญแม้จะได้บุญมากหรือน้อย ก็ควรทำ
(ตามที่ได้เขียนในหนังสือ ทำดี 24 ชั่วโมง และ บุญใหญ่พลิกชีวิต)
สิ่งที่ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้บอก เราไม่จำเป็นต้องเชื่อนะครับ ใช้สติปัญญาพิจารณา เพราะผู้เขียนเองก็ยังเป็นปุถุชนประกอบด้วยกิเลสเป็นอันมาก การตีความพระไตรปิฎกอาจเป็นการตีความผิดๆ เข้าใจผิดไปเอง แต่ผมเองก็ชื่นชอบและอ่านหนังสือของผู้เขียน เพราะเป็นหนังสือที่อ่านง่าย ได้ความรู้อย่างรวดเร็ว แต่สไตล์การเขียนอาจจะดูก้าวร้าว ปะปนด้วยวาจาที่ไม่นุมนวลตามประสาคนสมัยใหม่ แต่เป็นหนังสือธรรมะที่ผมใช้ยึดเป็นหลักในการทำบุญตลอดมา อย่างไรก็ตาม เรื่องทานอาหารเจ นี้ผมคิดว่า ใครชอบทานก็ทาานไปเถอะครับ ยึดเจตนาในเรื่องเมตตาธรรม จะได้บุญน้อยก็ไม่เป็นไร เพราะพระโพธิสัตว์เองท่านทำบารมีมานานมากๆ โดยไม่เกี่ยงบุญน้อย เราทำของเราไปเรื่อยๆ การทำบุญสร้างบารมี เราทำเป็นกิจวัตร เป็นนิสัย ทั้งใหญ่ทั้งน้อย ทำไปเรื่อยๆ ครับ
อนึ่ง ผู้เขียนได้พูดว่า บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธเถรวาท "เท่านั้น"
เรียนคุณ 0 ตอบคำถามโดยรวมแบบนี้นะครับ
- การปล่อยปลา มีปลาที่ได้รับการช่วยชีวิตแน่นอน ก็คือตัวที่เราปล่อย
เราจะได้บุญตั้งแต่เราตั้งใจจะไปปล่อย จนถึงขณะที่ได้ปล่อยเสร็จแล้ว
บุญจึงเกิดขึ้นครบถ้วน เพราะมีปลาที่ได้รับการช่วยชีวิตเกิดขึ้นจริงๆ
ส่วนหลังจากนั้น หากมันจะตายเพราะกรรมเก่าของมัน ก็ช่วยไม่ได้
จะเห็นว่า แม้ว่าการปล่อยปลาจะหยุดการตายของมันไม่ได้
แต่เพราะเราสามารถยืดระยะเวลาการตายของมันออกไปได้ เราจึงได้บุญจากการปล่อยปลา
- การไถ่ชีวิตโคก็เช่นกัน แม้ว่าเราจะไม่ได้ไปร่วม แค่บริจาคเงิน
แต่สุดท้าย เงินก้อนนั้นก็นำไปไถ่ชีวิตโคที่กำลังจะถูกฆ่า
บุญจึงเกิดขึ้นครบถ้วน เพราะมีโคที่ได้รับการช่วยชีวิตเกิดขึ้นจริงๆ
ส่วนหลังจากนั้น หากมันจะตายเพราะกรรมเก่าของมัน ก็ช่วยไม่ได้
จะเห็นว่า แม้ว่าการปล่อยปลาจะหยุดการตายของมันไม่ได้
แต่การที่เราสามารถยืดระยะเวลาการตายของมันออกไปได้ เราจึงได้บุญจากการไถ่ชีวิตโค
- การไม่กินเนื้อสัตว์
สมมุติว่าวันนี้เราเดินเข้าไปที่ร้านอาหาร แล้วตัดสินใจไม่สั่งอาหารที่มีเนื้อสัตว์เลย
คำถามก็คือ สัตว์ตัวไหน ที่ได้รับการช่วยชีวิตจากการไม่กินเนื้อสัตว์นั้น
เพราะไม่ว่าเราจะกินหรือไม่กิน เนื้อหมูที่ถูกหั่นเป็นชิ้นที่อยู่ในร้าน
"หมูตัวนั้น" ก็ถูกฆ่าไปแล้ว ไม่มีวันกลับมามีชีวิตได้
คุณ 0 อาจจะคิดว่า ก็หมูตัวที่ยังไม่ได้ถูกฆ่าไง => ตรงนี้แหละครับที่เข้าใจผิด และเป็นสิ่งที่ไม่เกิดผลจริง
เพราะหากวันนี้ เราตัดสินใจไม่กินอาหารที่มีเนื้อหมูเลย
จำนวนหมูที่ฆ่าในวันพรุ่งนี้ อาจจะเท่าเดิม น้อยลง หรือมากขึ้นก็ได้ คือเป็นไปได้ทั้งนั้น
จะเห็นว่ามีความแตกต่าง ระหว่างการปล่อยปลา ไถ่โค กับการไม่กินเนื้อสัตว์อย่างชัดเจน
ว่าทำอะไรแล้วเกิดผลแน่ๆ กับทำอะไรแล้วจะเกิดหรือไม่เกิดก็ไม่รู้
(อย่าเอาความคิดว่า หากคนจำนวนมากไม่กิน หมูจะถูกฆ่าน้อยลง เพราะเราต้องดูว่า
ตกลงแล้ว การกระทำของเราคนเดียวทำให้เกิดผลใดๆหรือไม่ )
เพื่อความเข้าใจมากขึ้น ผมจะตอบคำถามที่ตั้งมาดังนี้
1. ได้บุญครับ เพราะมีโคที่จะรอดชีวิตแน่ๆ
2. ได้บุญครับ เพราะเป็นการยืดชีวิต
3. ไม่มีใครรู้ครับ (อย่างที่ได้อธิบายไป) ถ้าวันนี้"เรา" กินเจ พรุ่งนี้"สัตว์ที่ถูกฆ่าเป็นอาหาร" อาจจะเท่าเดิม มากขึ้น หรือน้อยลง ก็ได้ทั้งนั้น
ด้วยเหตุนี้ ก็คงต้องตั้งคำถามว่า เราจะได้บุญจากสิ่งใครก็ไม่รู้ว่าเกิดผลหรือไม่ ได้อย่างไร
ส่วนเรื่องเจตนาของการไม่กินเนื้อสัตว์ โดยมีเจตนาจะช่วยชีวิตนั้น ผมก็ได้เขียนในบทความแล้ว ว่า"ได้บุญ" ดังนี้
"หากจะถามว่าการกินเจได้บุญหรือไม่ ก็พอจะเทียบเคียงได้ว่า ความตั้งใจที่จะไม่อยากให้มีสัตว์ตายเพิ่มขึ้น
ถือได้ว่าเป็นจิตเมตตาอย่างหนึ่ง จึงได้บุญในลักษณะการแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์
ก็จะได้บุญในอีกแบบหนึ่ง (แต่ไม่ได้บุญในลักษณะการไม่ทานเนื้อหรือไม่ฆ่าสัตว์)
ซึ่งการจะได้บุญแบบนี้ จะต้องมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นสมาธิ และแผ่เมตตาจิตออกไป "
(ผมถึงได้บอกไงครับว่า สิ่งที่ถามสิ่งที่สงสัย มีอยู่ในบทความและสิ่งที่ผมตอบแล้ว)
ส่วนการกินเนื้อสัตว์ ไม่ว่าพระหรือฆารวาส "ในพระไตรปิฎก"เขียนไว้ชัดเจนว่า
ไม่ว่าจะฆ่าเอง สั่งให้ฆ่า ยินดีที่เขาถูกฆ่า(หรือเจตนาให้ผู้อื่นสรรหามาให้) บาปอยู่แล้วครับ
การที่คุณ 0 ยอมรับว่า การไม่กินเนื้อสัตว์ได้บุญ "ไม่มี"ในพระไตรปิฎก
คงจะบอกอะไรได้หลายๆอย่าง เพราะถ้าหากทุกคนอ้างว่า สิ่งที่ไม่มีอยู่ในพระไตรปิฎกอาจจะจริงก็ได้
ก็คงมีความเชื่อผิดๆจำนวนนับไม่ถ้วน สามารถใช้ประโยคดังกล่าวอ้างได้เสมอ(และทำให้เกิดนิกายมากมาย)
ผมถึงเขียนตั้งแต่ประโยคแรกของบทความว่า
บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธเถรวาท "เท่านั้น"
เพื่อเป็นการเน้นย้ำว่า เป็นบทความที่อ้างอิงจากสิ่งที่"มีอยู่"ในพระไตรปิฎก
หากคุณ 0 จะยืนยันที่จะพยายามทำสิ่งที่พระพุทธเจ้า"ไม่ได้"สั่งสอนเอาไว้ ก็เป็นสิทธิ์เฉพาะบุคคล
แต่คุณ 0 ก็อย่าลืมถามตัวเองว่า แล้วเราจะดิ้นรนทำสิ่งที่ "ไม่ได้"บัญญัติไว้ในพระไตรปิฎก เพื่ออะไร
โดยคุณบอกว่าพระไตรปิฎกไม่มีตรงไหนบอกว่า การไม่กินเนื้อสัตว์แล้วได้บุญ.
ผมขอย้ำว่า ผมไม่ได้บอกว่าการไม่กินเนื้อสัตว์จะได้บุญ, แต่ผมบอกว่าการไม่กินเนื้อสัตว์ด้วยเจตนาช่วยชีวิต(ดังกล่าวมาแล้ว)จะได้บุญ.
(แค่คำว่าไม่กินเนื้อสัตว์ ยังไม่สามารถบอกได้ว่าได้บุญหรือไม่ แต่ต้องดูที่เจตนาของการไม่กินด้วย.)
แต่ถึงแม้พระไตรปิฎกจะไม่มีตรงไหนบอกว่า การไม่กินเนื้อสัตว์ด้วยเจตนาดังกล่าวจะได้บุญ.
การที่พระไตรปิฎกไม่ได้บอกอย่างเจาะจง ไม่ได้หมายความว่าสิ่งนั้นจะไม่ได้บุญนี่ครับ.
พระไตรปิฎก ไม่จำเป็นต้องแจกแจงให้หมดทุกกรณี, แต่บอกเพียงกว้างๆ ว่า การช่วยชีวิตสัตว์จะได้บุญ.
การกินเจโดยมีเจตนาจะช่วยชีวิตสัตว์ (ไม่ได้แค่กินเจเฉยๆ แต่เป็นการกินเจด้วยเจตนาจะช่วยชีวิตสัตว์จากการถูกฆ่าเป็นอาหาร) ก็ควรจะได้บุญตามที่พระไตรปิฎกบอก.
ย้ำว่า ผมไม่ได้หมายถึงการกินเจเฉยๆ ที่สักแต่กินโดยไม่มีเจตนาใดๆ, แต่หมายถึงการกินที่มีเจตนาจะช่วยชีวิตจากการถูกฆ่าเป็นอาหาร ก็ควรจะได้บุญจากเจตนาอันนั้น.
(ผมเห็นด้วยว่า การกินเจโดยไม่มีเจตนาใดๆ นั้นไม่ได้บุญแน่ๆ, แต่ผมแย้งในประเด็นว่า การกินเจโดยมีเจตนาดังกล่าวควรจะได้บุญตามเจตนานั้น.)
ตรงนี้ไม่ได้เป็นการไม่ยึดตามพระไตรปิฎกแต่อย่างใดนะครับ, แต่เป็นการใช้เหตุผลอธิบายว่าสิ่งนี้ตรงตามที่พระไตรปิฎกบอกหรือไม่.
ซึ่งผมก็ได้อธิบายไปว่าสิ่งนี้สามารถช่วยชีวิตตามเจตนาดังกล่าวได้ และก็ควรจะได้บุญจากการช่วยชีวิต ซึ่งก็ตรงตามที่พระไตรปิฎกได้กล่าวไว้กว้างๆ.
และก็ไม่ได้ขัดแย้งกับพระไตรปิฎกในข้อที่ว่าอนุญาตให้พระสงฆ์ฉันเนื้อสัตว์ได้, เพราะ ข้อนี้เป็นเพียงบอกว่าการฉันเนื้อสัตว์ไม่บาป, แต่ไม่ได้บอกว่าการไม่ฉันเนื้อสัตว์แล้วจะไม่ได้บุญ.
การที่พระไตรปิฎกบอกว่า "การฉันเนื้อสัตว์ไม่บาป" กับการที่ผมบอกว่า "การไม่กินเนื้อสัตว์(ด้วยเจตนาดังที่กล่าวมาแล้ว)จะได้บุญ" ไม่เห็นว่าจะขัดแย้งตรงไหน.
บุญก็ส่วนบุญ ไม่บาปก็ส่วนไม่บาป สิครับ มันคนละส่วนกัน.
ส่วนที่ผมบอกว่า การที่คนส่วนใหญ่กินเนื้อสัตว์ด้วยเจตนาเจาะจงสั่งซื้อจากผู้ขายว่าจะกินสัตว์นั้นสัตว์นี้ ก็อาจจะเป็นบาป เพราะ เป็นการส่งเสริมให้ฆ่าสัตว์นั้น, สิ่งนี้ก็ไม่ได้ขัดแย้งกับพระไตรปิฎก, เพราะ พระไตรปิฎกอนุญาตให้ฉันเนื้อสัตว์เฉพาะในกรณีของพระสงฆ์ที่ไม่ได้แสดงเจตนาให้ผู้อื่นสรรหาเนื้อสัตว์มาให้ฉัน,
แต่พระไตรปิฎกไม่ได้อนุญาตให้แสดงเจตนาซื้อเนื้อสัตว์จากผู้ขาย, ไม่ได้อนุญาตให้แสดงเจตนาส่งเสริมให้ฆ่าเป็นอาหาร.
สิ่งที่กล่าวนี้ยังคงยึดตามพระไตรปิฎกที่กล่าวไว้กว้างๆ ว่า การส่งเสริมให้ฆ่า และมีการฆ่าจากเจตนานั้น ก็เป็นบาป.
ผมเห็นด้วยว่า การกินเนื้อสัตว์แบบพระสงฆ์โดยไม่ได้แสดงเจตนาให้ผู้อื่นสรรหาเนื้อมาให้ นั้นไม่บาป,
แต่ผมแย้งในประเด็นว่า คนส่วนใหญ่กินเนื้อสัตว์ด้วยเจตนาให้ผู้อื่นสรรหามาให้ นั้นเป็นบาป.
หรือว่าคุณยังไม่เข้าใจในเหตุผลที่ผมยกมาหักล้าง?
ก็อย่างที่คุณณัฐพบธรรมอธิบายว่าการไม่กินเนื้อสัตว์ไม่เกิดผลลัพธ์ ไม่ได้บุญจากการช่วยชีวิต เพราะยังไงมันก็ต้องถูกฆ่าอยู่ดี,
ผมจึงแย้งว่าการปล่อยปลาก็ไม่ได้บุญจากการช่วยชีวิตเหมือนกัน เพราะยังไงปลานั้นก็ต้องถูกฆ่าอยู่ดี.
คุณจึงตอบกลับด้วยเหตุผลว่า ปล่อยปลาเราก็ยังได้บุญจากการช่วยชีวิตในตอนนั้น,
ส่วนการไม่กินเนื้อสัตว์ไม่ได้บุญจากการช่วยชีวิต เพราะขณะที่ไม่กิน ไม่ได้ช่วยชีวิตมัน.
(ถ้าผมเข้าใจผิดในสิ่งที่คุณอธิบายในประเด็นไหนกรุณาแย้งด้วยครับ)
ผมเข้าใจว่าประเด็นนี้ของคุณอยู่ที่เงื่อนเวลาว่า ขณะที่ทำนั้นแบบแรกเกิดผลทันที ส่วนการกินเจเกิดผลในภายหลัง.
ถ้างั้นแล้วผมก็สงสัยต่อว่า การบริจาคเงินเพื่อให้เขาไปไถ่ชีวิตโคโดยที่เราไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมขณะที่ไถ่ชีวิตด้วย จะได้บุญจากการช่วยชีวิตรึเปล่าครับ,
เพราะ ขณะที่เราบริจาคเงิน ยังไม่ได้มีการช่วยชีวิตเกิดขึ้น และเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าโคตัวไหนจะรอดชีวิต จากการบริจาคของเรา,
อย่างนี้แล้วการบริจาคเงินเฉยๆ จะได้บุญจากการช่วยชีวิตรึเปล่าครับ?
แต่ด้วยกฎแห่งกรรม ยังไงโคตัวนั้นถึงเงินเราจะไถ่ชีวิตมันได้ แต่มันก็ต้องถูกฆ่าด้วยเหตุอื่นอยู่ดี.
หรือคุณจะบอกว่าคนบริจาคก็ยังได้บุญ เพราะ อย่างน้อยก็ยังสามารถช่วยชีวิตจากการถูกฆ่าเป็นอาหารได้ ถึงแม้มันจะต้องตายด้วยเหตุอื่นอีกก็ตาม?
ถ้าอย่างนั้น การกินเจ อย่างน้อยก็ยังสามารถช่วยชีวิตจากการถูกฆ่าเป็นอาหารได้ ถึงแม้มันจะต้องตายด้วยเหตุอื่นอีกก็ตาม เช่นเดียวกัน.
ยังไงการกินเจ มันก็ได้ผลอย่างที่ต้องการ คือ ช่วยสัตว์จากการถูกฆ่าเป็นอาหาร (ย้ำว่า ถึงแม้จะช่วยชีวิตไม่ได้ แต่ก็ช่วยชีวิตจากการถูก"ฆ่าเป็นอาหาร"ได้ ก็ถือว่าได้ผลตามต้องการ), แล้วทำไมเราจะไม่ได้บุญจากการที่มันได้ผลตามที่เราต้องการหละ?
หรือคุณจากบอกว่าการกินเจไม่สามารถ ช่วยสัตว์จากการถูกฆ่าเป็นอาหาร เลย?
ผมขอถามสรุปอีกครั้ง ในประเด็นที่ผมยังไม่ทราบคำตอบที่ชัดเจน(จากการอ่านสิ่งที่คุณได้อธิบายมา) ดังนี้,
1. การช่วยชีวิตโดยที่ยังไม่เห็นผลจากการช่วยในทันที (แต่จะเกิดผลในอนาคต) จะได้บุญจากการช่วยชีวิตหรือไม่?
2. การช่วยชีวิตที่จะเกิดผลในอนาคต ซึ่งถึงแม้ยังไงมันก็ต้องตายด้วยเหตุอื่นอยู่ดี จะได้บุญจากการช่วยชีวิตหรือไม่?
3. การกินเจสามารถช่วยชีวิตจากการถูก"ฆ่าเป็นอาหาร" ได้หรือไม่?
สิ่งที่คุณ 0 ถามหรือสงสัย
ผมได้อธิบายไปหมดแล้ว(ทั้งในบทความ และที่ตอบเพิ่มเติม) คงไม่อธิบายซ้ำแล้วหล่ะครับ
ผมคงตอบเพิ่มเติมแค่ว่า ให้ยึดเอาสิ่งที่อยู่ในพระไตรปิฎก ให้ยึดสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน
หากจะเชื่ออะไร ก็อย่าให้ขัดแย้งกับ พระไตรปิฎกและสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน
ถ้าเมื่อไหร่ ที่คุณ 0 สามารถหาที่อ้างอิงในพระไตรปิฎกได้ว่า
การไม่กินเนื้อสัตว์ได้บุญ ก็บอกผมด้วยก็แล้วกันนะครับ
คานธี ก็ไม่กินเนื้อสัตว์ เพราะนับถือศาสนาฮินดู เช่นกัน.
คานธี เชื่อว่า อหิงสา ที่จะทำให้สังคม
สงบสุขนั้น ต้องเริ่มจากการไม่เบียดเบียนสัตว์, เพราะ ถ้ามนุษย์มีเมตตาไม่เบียดเบียนกระทั่งสัตว์แล้ว มนุษย์ก็จะมีจิตใจสูงขึ้น จะไม่รบราฆ่าฟันกัน สังคมก็จะสงบสุขอย่างยั่งยืน
อย่าลืมว่าในโลกใบนี้เคยมีมนุษย์เกิดมาจำนวนนับไม่ถ้วนนะครับ
และเวลาที่เกิดเป็นสัตว์แล้วไปฆ่าสัตว์อื่นก็ได้บาป และต้องไปเกิดเป็นสัตว์นั้นให้เขาฆ่าเพื่อรับบาปเช่นกัน''
ขอเสริมว่า ยิ่งฆ่าสัตว์แค่ตัวเดียว แต่ต้องถูกฆ่ากลับ 500 ครั้ง, ยิ่งทวีคูณจำนวนสัตว์ที่ต้องเกิดมาถูกฆ่าเป็น 500 เท่า ของจำนวนครั้งที่มนุษย์เคยฆ่าสัตว์ในอดีต.
``เช่น มีฉลาม เพนกวิน แมวน้ำ ที่จะไปล่าปลาเป็นอาหาร(แต่ก็ต้องรับกรรมด้วยการไปเกิดเป็นปลาในอนาคต)''
ปาณาติบาตนั้น ต้องมีองค์ประกอบที่ว่า "รู้ว่าสัตว์มีชีวิต" อีกด้วย. ผมไม่แน่ใจว่า พวกเพนกวิน มันรู้ว่าสัตว์มีชีวิตหรือไม่, จึงไม่แน่ใจว่า พวกมันต้องรับกรรมจากปาณาติบาต หรือไม่.
ขอแย้งคุณกร บ้างนะครับ.
เรื่องการติดในความอร่อย ผมว่าไม่ใช่ประเด็นของการกินหรือไม่กินเนื้อสัตว์แล้วหละครับ.
ถึงจะกินเจ คนกินเจส่วนใหญ่ก็ยังติดในความอร่อยของอาหารเจอยู่ดี.
ถึงจะกินเนื้อสัตว์ แต่ถ้ากินแบบสงฆ์ คือผสมทุกอย่างที่บิณฑบาตได้มา ก็สามารถลดการติดในรสชาติได้.
ส่วนคุณ @มาม่าของพระ ผมเห็นว่าคุณคงยังไม่เข้าใจในประเด็นที่ว่า สัตว์ยังไงก็ต้องตายตามผลของกรรม.
(เป็นเจตนาที่ไม่เกิดผลลัพธ์ที่แท้จริง)''
ทำไมจะไม่เกิดผลลัพธ์ครับ?
การไม่กินเนื้อสัตว์ ก็เกิดผลลัพธ์ในการช่วยชีวิตจากการที่สัตว์ถูกฆ่ากิน ไงครับ.
ถ้าบอกว่าไม่เกิดผลลัพธ์ ถ้างั้น การปล่อยปลาก็ไม่เกิดผลลัพธ์เหมือนกัน เพราะ ไม่ได้หยุดการฆ่าปลาตัวนั้น.
คำตอบก็คือ "ไม่ใช่" พระพุทธเจ้าไม่ได้สนับสนุน ไม่ได้สรรเสริญ
เพราะการไม่ทานเนื้อสัตว์ไม่ได้ทำให้บรรลุธรรมหรือบารมีใดเป็นพิเศษเลย
และพระพุทธเจ้าก็ทรงฉันเนื้อสัตว์ตามปกติ ไม่ได้กินเจหรือมังฯ
พระอรหันต์ พระผู้ปฎิบัติดี ต่างก็บอกตรงกันว่าไม่จำเป็นต้องกินเจ
ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า การทานเนื้อสัตว์ไม่บาปข้อฆ่าสัตว์(ปานาติบาต)
เพราะเราจะบาปเมื่อเราฆ่า ส่งเสริมให้ฆ่า ยินดีที่เขาฆ่า ชื่นชมที่เขาฆ่า "สัตว์ที่มีชีวิต" เท่านั้น
การที่เรากินเนื้อสัตว์โดย ไม่ได้สั่ง ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รู้ว่าเขาฆ่าเพื่อเรา "ไม่บาป" เพราะถือว่าเรากินเนื้อที่ตายแล้ว
ส่วนบาปจากการทำให้สัตว์นั้นตายจะตกอยู่กับคนฆ่าส่วนคนกินไม่บาป''
คำสั่งสอนนี้จะใช้ได้ดีเฉพาะกับพระสงฆ์เท่านั้นครับ, เพราะ พระไม่ได้เป็นผู้ไปชี้ไปบอกว่าต้องการกินเนื้อสัตว์อันนั้นอันนี้.
ส่วนฆราวาสส่วนใหญ่ในปัจจุบันไปซื้ออาหาร ก็เป็นคนไปเลือกเองทั้งนั้นว่าจะกินเนื้อสัตว์นั่นนี่, เป็นการยากที่จะไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้ฆ่าเลย.
จะมีซักกี่คนที่เลือกกินเนื้อสัตว์โดยไม่ได้รู้สึกขอบคุณคนที่ยอมฆ่าสัตว์มาให้เขากิน เลย?
คนส่วนใหญ่ที่ยังอยากกินเนื้อสัตว์ เค้าก็ไม่อยากให้เลิกฆ่าสัตว์มาให้เค้ากิน กันทั้งนั้น.
การเลือกที่จะไม่กินเนื้อสัตว์ เป็นการป้องกันที่ได้ผล ที่จะไม่ให้เกิดความรู้สึกยินดีที่เขาฆ่ามาให้เรากิน.
อาจจะได้บุญมากกว่าด้วยซ้ำไป เพราะได้ช่วยชีวิตจริงๆ''
การกินเจด้วยเจตนาจะช่วยชีวิต, ไม่เพียงได้บุญจาก"เจตนา"ที่อยากให้หยุดการฆ่า, แต่ยังได้บุญจากการช่วยชีวิตไม่ให้ถูกฆ่าเป็นอาหารอีกด้วยนิครับ.
ตอบคุณ 0 ว่า เราได้บุญจาก"เจตนา" ที่อยากให้หยุดการฆ่าครับ(อย่างที่ได้อธิบายไป)
แต่ไม่ใช่บุญโดยตรงจากการไม่กินเนื้อสัตว์ เพราะการไม่กินเนื้อสัตว์ไม่ได้หยุดการฆ่า
(เป็นเจตนาที่ไม่เกิดผลลัพธ์ที่แท้จริง)
ความตั้งใจที่จะไม่อยากให้มีสัตว์ตายเพิ่มขึ้น ถือได้ว่าเป็นจิตเมตตาอย่างหนึ่ง
จึงได้บุญในลักษณะการแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ ก็จะได้บุญในอีกแบบหนึ่ง''
การ"ปฏิเสธ"เนื้อสัตว์ ก็เป็นการได้บุญจากการช่วยไม่ให้สัตว์ถูกฆ่าในอนาคต รึเปล่าครับ.
ถึงจะหยุดการตายของสัตว์ไม่ได้ แต่ก็หยุดการฆ่าที่เกิดจากความต้องการบริโภคของเราได้.
ส่วนวัวควายกินผัก นำมาเทียบกับการกินเจไม่ได้ เพราะ วัวควายไม่ได้มี"เจตนา"ที่จะไม่ให้สัตว์ถูกฆ่า.
ตอบคุณ 0 ว่า ใช่ครับ ปลานั้นอาจจะตายในอนาคต อาจจะถูกฆ่าตาย
แต่การที่เราช่วยไม่ให้เขาตายในตอนนั้น เราก็ได้บุญจากการช่วยชีวิตในตอนนั้น
การปล่อยปลาไม่ได้หยุดการฆ่าปลา แต่การปล่อยปลาทำให้เราได้บุญครับ
ก็เป็นการส่งสัญญาณบอกให้คนอื่นลดการฆ่าสัตว์ลง
สัตว์นั้นก็ต้องถูกฆ่าตายอยู่ดี (ไม่ใช่แก่ตาย)''
``ฉะนั้นแม้ว่าเราจะไม่กินเนื้อสัตว์ แม้ว่ามนุษย์จะไม่ฆ่าสัตว์ สัตว์ตัวนั้นก็ตายอยู่ดี''
``ผมคิดว่าบางทีนำเงินไปซื้อปลาในตลาดที่กำลังจะถูกฆ่า ไปปล่อยในแม่น้ำ
อาจจะได้บุญมากกว่าด้วยซ้ำไป เพราะได้ช่วยชีวิตจริงๆ''
ด้วยตรรกะเดียวกันนี้ ทำไมถึงไม่บอกด้วยหละว่า แม้ว่าเราจะไม่ซื้อปลาไปปล่อย ปลาตัวนั้นก็ต้องถูกฆ่าตายอยู่ดี?
คุณหมอโน๊ต เข้าใจถูกแล้วครับว่า ผมต้องการให้ทราบว่า แท้จริงแล้วพระพุทธเจ้าสอนอย่างไร
ผมจึงได้เน้นว่า
บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธเถรวาท "เท่านั้น"
จะกินเจหรือไม่กิน ก็ต้องแล้วแต่ความเชื่อส่วนบุคคล
แต่ถ้าจะเชื่อตามพระพุทธเจ้า ก็ต้องเชื่อแบบนี้ครับ ^_^
(สงสัยหนังสือเล่มที่กำลังจะวางแผง คงจะมีผู้หวั่นไหวและไม่เข้าใจ จำนวนไม่น้อย เพราะในนั้นมีแต่เรื่องความเชื่อที่ไม่ใช่พุทธศาสนา แต่มีคนศรัทธาจำนวนมาก เต็มไปหมด)
ผมเป็นคนนึง ที่อ่านหนังสือ ท่องนรก เที่ยวสวรรค์ ของคุณ ณัฐ และรู้สึกว่าโชคดีมากครับ เพราะได้่อ่านหนังสือที่ตรงกับจริต ผมเป็นประมาณ วิตกจริต จะมีคำถาม นั้นโน่น นี่มากมาย และมีคำ ถามตลอด แต่ หนังสือ ของคุณ ตอบคำถามหลายๆเรื่อง รวมทั้งบทความนี้ ก้อตอบคำถามผมเช่นกัน แต่ ผมก้อคิดว่าจะ กินมังสวิรัต ทุกวันพระ ครับ เพราะ ผมยังคงยึดถือเรื่องความสบายใจ ในเมื่อ กินแล้ว ประเด็นที่ คนยัง ยอมรับยาก เท่าที่ดู มีสองประเด็น คือ
1. หากกินเจกินมังสวิรัติ เท่ากับเป็นการลดการฆ่าสัตว์ ซึ่งก้อคือ การมีเมตตา หาก ยังกินอยู่ก้อเท่ากับ ส่งเสริมการฆ่าสัตว์ ส่งเสริมให้คน ผิดศีลข้อ ๑ มากขึ้น
2. เจตนา ของผู้ส่งสาร ( คุณณัฐพบธรรม )
ผมเชื่อว่า ข้อที่ 1 เป็นเรื่องแล้วแต่บุคคลครับ ผมเชื่อว่า คนที่ กินเจ ย่อมมีเหตุึจากจิตเมตตาอยู่แล้วครับ หากเกิดจากจุดนี้ผมว่า ไ่ม่จำเป็นเลยครับที่จะต้องมา เถียงกัน เพราะกินเจแล้ว หากช่วยให้คุณเมตตา ไม่อยากฆ่าสัตว์ ยึดถือศีลข้อ 1 อย่างมั่นคง ผมก้อมองว่ายิ่งเป็นการดี แต่บางคน กินเจ แต่ ยังฆ่าคน ฆ่าสัตว์ อันนี้ก้อไม่รู้ครับ ว่าจะได้อะไร และหาก เรากิน เนื้อสัตว์ โดยที่ เข้าข่าย ๓ อย่าง คือ ๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน ๓. ไม่ได้รังเกียจ ซึ่งตรงตามหลักคำสอนขององค์พระศาสดา ผมยึดมั่นในคำสอนพระองค์ครับ
สรุป กินไม่กิน ก้อ แล้วแต่จิตศรัทธาครับ เพราะ
ข้อสอง ผมเชื่อมั่นว่า เจตนาของผู้เขียน คงไม่ได้ต้องการ จะ blame หรือ ข่ม ศาสนาหรือนิกายอื่นๆ ครับ ( อ่านจากหนังสือ แล้วเชื่อว่าอย่างนั้น ) คงจะเขียนเอาไว้ให้เพื่อ บอก ถึงหลักคำสอน ขององค์พระพุทธเจ้า ว่าพระองค์ท่านมีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไรก้อเท่านั้นครับ
อย่าตำหนิกันเลยครับ
ผมเห็นด้วยครับ คนรับสาร ย่ิอมมีหลายประเภท เปรียบเหมือน บัวสี่เหล่าครับ หาก มีคนที่ได้รับตามเจตนาแล้ว ที่เหลือ ก้อต้องวางอุเบกขา ครับ
ผมว่าประเพณี ถือศีลกินเจ ที่ได้บุญน่าจะเป็นการถือศีล ส่วนกินเจไม่น่าจะเกี่ยวกับบุญ แต่เกี่ยวกับสุขภาพ เพราะการกินเนื้อสัตว์มาก ๆ ทำให้มีโทษแก่ร่างกาย ทานเจน่าจะเพื่อสุขภาพ แล้วก็ความศรัทธาในสิ่งที่นับถือบูชา เลยไม่ทานเนื้อสัตว์
เช่น ในศาสนาฮินดู จะไม่ทานเนื้อวัว เพราะถือว่าวัวเป็นพาหนะของพระศิวะ คนที่นับถือ ศรัทธาก็จะไม่ทานเพราะให้เกียรติ ในฐานะพาหนะของเทพที่นับถือ ก็ไม่น่าจะได้บุญ เพราะไม่งั้นก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว แค่ไม่กินก็สะสมบุญได้ทุกวัน
ส่วนคนที่นับถือในฮินดูแล้วกินเนื้อวัวก็ไม่ผิด เพราะจะเป็นพวกไม่เคร่งครัดไม่มาก
ถ้าประเด็นไม่กินเนื้อสัตว์ แล้วได้บุญไหม คงไม่น่าจะได้เหมือนที่คุณณัฐบอก แต่ในเทศกาลกินเจ ตรงที่ได้บุญ เพราะถือศีล รักษาศีล เค้าจึงให้คนที่กินเจรักษาศีลด้วย
การกินมันก็แค่...เพื่อประคองให้รูปอยู่ได้ ไม่ได้กินเพื่อความสะใจ...อย่ามาวัดว่าแค่...คนที่ไม่กินเนื้อเป็นคนดี มีบุญ
คนที่กินเนื้อเป้นคนบาปเลยครับ..เรื่องดีๆในศาสนาก็มีอีกเยอะ ทำไมไม่ยกมาพูดกันบ้าง บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ
ก็ดี...มงคล 38 ก็ดี กรรมบท 10 ก็ดี ทำไมเราชาวพุทธ ทั้งเถรวาท และ มหายาน เอามาพูดกันบ้าง...มาคุยแต่เรื่องการกิน คนหนึงกินได้บุญ คนหนึงกินได้บาป ศาสนาใหนสอนครับผม.....
เป็นเรื่องของความสบายใจ และเรื่องของเมตตาจิต(+สงสาร)
ส่วนตอนบวช เราบอกญาติเราก่อนได้นะครับ
พระพุทธเจ้าอนุญาตครับ
แต่ก็ชอบมีคนบอกเรื่อยว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามนะ เรากินไม่ได้ผิดหรอก ฟังแล้วก็ไม่ได้ตอบอะไรเพราะไม่เคยคิดว่าที่ไม่กินเพราะถ้ากินแล้วเป็นบาป พ่อแม่ปู่ย่าตายายของผมท่านก็กิน ครูบาอาจารย์ของผมท่าก็กินก็ฉัน เป็นแค่ตัวเราไม่อยากกินเท่านั้นเอง ทุกวันนี้ไปกินข้าวกับคนอื่นบางทีเขายังไม่รู้เลยว่าผมไม่กินเนื้อสัตว์ ก็ตักเลี่ยงซะเท่านั้นเอง กินอาหารกับภรรยาก็กินปกติเพราะเธอก็ยังชอบไก่ชอบปลาอยู่ ผมก็กินผัก แต่ยังนึกไม่ออกว่าถ้าบวชอีกจะทำยังไง นึกตั้งใจจะบวชอีกสักช่วง ทำบุญอุทิศให้พ่อแม่
ได้อ่านเรื่องท่องนรก เที่ยวสวรรค์ เมื่อคืนนี้เองครับ แทบจะรวดเดียวจบ ชอบมาก รู้ว่ายังมีเกณฑ์ถูกทรมานอยู่หลายเรื่อง แต่ก็ทำให้ได้คิดว่าคงต้องรีบเผ่นให้พ้นให้ได้
ขอบคุณอีกครั้งครับ
ต้องแยกแต่ละเหตุการณ์ออกจากกันนะครับ
สัตว์จำนวนมากที่ถูกฆ่า นั้นกำลังรับกรรม"เก่า"ที่ตนเคยฆ่าสัตว์ประเภทนั้นมา
บางตัวอาจจะวนเวียนเกิดมาให้ฆ่าอยู่ตลอด จำนวนวิญญาณที่ถูกฆ่าจึงเป็นคนเดิมๆ
คนที่เลี้ยงเพื่อฆ่า เป็นกรรม"ใหม่"ของเขาที่ทำขึ้น
ผลกรรมก็คือ เขาก็จะต้องไปเกิดเป็นสัตว์เพื่อให้เขาฆ่า(กลายเป็นกลุ่มแรก)
คนที่กิน หากินโดยสั่งให้ฆ่า หรือยินดีที่เขาฆ่า ก็จะได้บาปด้วย
หากบาปมากก็จะเป็นเกิดเป็นกลุ่มแรกเช่นกันครับ หากบาปไม่มากก็แค่เจ็บป่วย อายุสั้น
ส่วนคนที่กินโดยไม่ได้สั่งฆ่า ไม่ได้ยินดีในการฆ่า กินซากศพเป็นอาหาร
ก็จะไม่ได้บาป และไม่ต้องไปเกิดเป็นกลุ่มแรก
การที่มีสัตว์จำนวนนับล้านๆ เกิดมาเพื่อให้ฆ่านั้น อย่ามองจำนวนมนุษย์ในปัจจุบันเป็นเกณฑ์ครับ
อย่าลืมว่าในโลกใบนี้เคยมีมนุษย์เกิดมาจำนวนนับไม่ถ้วนนะครับ
และเวลาที่เกิดเป็นสัตว์แล้วไปฆ่าสัตว์อื่นก็ได้บาป และต้องไปเกิดเป็นสัตว์นั้นให้เขาฆ่าเพื่อรับบาปเช่นกัน
คิดตามนะครับว่า โลกเกิดดับมานับครั้งไม่ถ้วน
แต่ละครั้งมีมนุษย์เกิดตายนับล้านล้านล้านคน มีสัตว์เกิดตายนับล้านล้านล้านตัว
ทั้งมนุษย์และสัตว์ต่างก็เคยฆ่ากันไปฆ่ากันมานับครั้งไม่ถ้วน
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีสัตว์ที่ต้องเกิดมารับกรรมด้วยการถูกฆ่าจำนวนนับล้านๆ
(ในนรกก็มีผู้รับกรรมนับล้านล้านเช่นกัน)
หากมนุษย์ไม่ฆ่าสัตว์เลย ก็จะมีสัตว์ที่เป็นผู้ล่า ไปฆ่าเขาตายอยู่ดี
เช่น มีฉลาม เพนกวิน แมวน้ำ ที่จะไปล่าปลาเป็นอาหาร(แต่ก็ต้องรับกรรมด้วยการไปเกิดเป็นปลาในอนาคต)
มีเสือ สิงโต ไฮยีน่า ที่จะล่าหมู ไก่ ที่อยู่ในป่า(สัตว์นักล่าจะมีมากขึ้น เพราะมนุษย์ไม่ฆ่าสัตว์)
พอจะเห็นภาพไหมครับ(ตอบตรงสิ่งที่สงสัยไหมครับ)
ถ้าเป็นในสมัยก่อนๆคงเข้าใจง่าย แต่ปัจจุบันมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อฆ่าเป็นอาหาร โรงฆ่าสัตว์ฆ่าวัวควายไก่เป็ดหมูวันละนับล้านชีวิตก็ว่าได้ ประมงทำให้ชีวิตสัตว์ตายวันละนับไม่ถ้วนเช่นกัน
ถ้าไม่ใช่เพราะความต้องการบริโภค ชีวิตนับล้านต่อวันจะตายด้วยกรรมได้อย่างไร
ถามเพราะสงสัยครับไม่ใช่โต้แย้ง
ผมก็หาโอกาสไปฝึกเจริญสติเท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวย
และพยายามฝึกในตอนที่อยู่บ้านให้ได้ทุกวันครับ
(กำลังพยายามอยู่ครับ)
ก็ได้เหตุกิเลสในตัวเอง และในตัวผู้อื่น
รวมถึงความสกปรกของสิ่งที่เราเคยคิดว่าสวยงามครับ
อนุโมทนาบุญกับความตั้งใจดีที่ทำ และที่จะทำในอนาคตด้วยนะครับ
ขอบคุณกำลังใจ คำแนะนำ และความหวังดีที่มีให้ครับ ^_^
ผมเป็นคนหนึ่งที่โชคดีได้อุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาประมาณ ๑๐๐ วันเศษ แต่เมื่อถึงวันลาสิกขาบท ผมก็เกิดความลังเลใจมากเพราะผมไม่อยากลาสิกขาบท..
แต่เนื่องจากผมเป็นข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อุปสมบทชั่วระยะเวลาหนึ่ง บวกกับภาระครอบครัวซึ่งมีอยู่พอสมควร หากไม่ลาสิกขาบทจะทำให้ครอบครัวและคนข้างหลังเดือดร้อนมาก ผมจึงจำต้องลาสิกขาบท..
แต่ถึงอย่างไรผมก็โชคดีมาก เพราะในระหว่างที่ผมเป็นภิกษุผมได้พบและรู้จักกับพระภิกษุที่ทรงวินัยเคร่งครัดและมีจริยวัตรที่งดงาม ไม่สนใจลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มุ่งปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น เคยแม้กระทั่งธุดงค์ในป่าเทือกเขาตระนาวศรีเพียงรูปเดียวเป็นเวลาเดือนเศษ และทุกวันนี้ท่านก็ยังคงอาศัยอยู่ในป่าที่วิเวกแห่งหนึ่งซึ่งคนทั่วไปยากจะเข้าไปถึง และที่น่าทึ่งคือท่านยังมีอายุเพียง ๓๘ ปีเศษ
ผมศึกษาวิปัสสนาจากท่านได้เพียงเล็กน้อยด้วยความอ่อนด้อยสติปัญญาของผม และผมได้ศึกษาประไตรปิฎก โดยเฉพาะพระวินัย และพระสูตรอย่างหนัก ทำให้เข้าใจโลกในมุมที่คนทั่วไปไม่สามารถเข้าใจได้ และผมยังหวังว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อผมปลดภาระเสร็จสิ้นแล้ว ผมจะกลับไปเป็นสิ่งที่ผมควรจะเป็น...
ผมได้อ่านหนังสือที่คุณเขียนแล้ว..เห็นว่าเนื้อหาถูกต้องตามพระไตรปิฎกทุกประการ คนทั่วไปสามารถอ่านและเข้าใจได้โดยง่าย และคุณโชคดีมากที่ได้มีโอกาสพบธรรม ซึ่งผมเชื่อว่าคุณอยากให้ทุกคนในโลกรู้และเข้าใจในสิ่งที่คุณรู้ (ผมเองก็เช่นกัน) แต่ก็ขอให้คุณทำใจว่าไม่ใช่ทุกคนจะรู้และเข้าใจได้เพราะธรรมนี้เป็นเรื่องลึกซึ้ง คิด คำนึ่ง หรือคาดเดาไม่ได้ เปรียบได้กับบัวสี่เหล่า จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สัตว์ผู้มีผงธุลีคือกิเลสบดบังจะไม่เข้าใจ...
ผมเชื่อว่าในระดับทานและศีลเบื้องต้นคุณสามารถปฏิบัติได้ สิ่งที่ผมจะขออนุญาตบอกกล่าวในฐานะพุทธบริษัทซึ่งมีพุทธบิดาองค์เดียวกัน คือ อยากให้คุณฝีกสติปัฏฐานและรักษาใจตนเองให้บริสุทธิ์ พยายามให้รู้ทันกิเลส ซึ่งผมเองก็พยายามฝึกฝนตนเองเช่นกัน ซึ่งแม้จะยังอีกห่างไกลแต่ก็จะเดินต่อไปในเส้นทางนี้ ผมเชื่อว่าสักวันหนึ่งซึ่งไม่นานนัก ผมจะเป็นเช่นพระภิกษุที่ผมกล่าวถึง
ฉันเข้าใจเจตนาของคุณณัฐ การกินเจไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ถึงเราไม่กินเนื้อสัตว์และสัตว์เหล่านั้นก็ต้องตายลงอยู่ดีเนื่องจากกรรมที่เคยทำ
เรื่องนี้ทำให้มีผู้เกิดความคิดแตกออกเป็นสองฝั่กสองฝ่าย แต่ถ้าอยากได้รู้ความจริงเป็นประการใด เราต้องรู้ได้ด้วยตนเอง จากการฝึกฝนพัฒนาตนพัฒนาจิตให้ถึงขั้นโลกุตตระ
ฉันเข้าใจเจตนาของคุณณัฐ การกินเจไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ถึงเราไม่กินเนื้อสัตว์และสัตว์เหล่านั้นก็ต้องตายลงอยู่ดีเนื่องจากกรรมที่เคยทำ
เรื่องนี้ทำให้มีผู้เกิดความคิดแตกออกเป็นสองฝั่กสองฝ่าย แต่ถ้าอยากได้รู้ความจริงเป็นประการใด เราต้องรู้ได้ด้วยตนเอง จากการฝึกฝนพัฒนาตนพัฒนาจิตให้ถึงขั้นโลกุตตระ
เรื่องการหยุดกิน แล้วมนุษย์ไม่ฆ่า ก็จะหยุดการฆ่า=> เป็นความเชื่อที่ผิด
เพราะแม้จะหยุดกิน มนุษย์จะหยุดฆ่า ก็ไม่สามารถหยุดการถูกฆ่าได้ เรื่องนี้มีในพระไตรปิกนะครับ (ภัตตชาดกที่ ๘ อรรถกถาเล่มที่ ๕๕ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ หน้า ๒๖๙)
ดังนี้ครับ
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
มีอาจารย์ทิศาปาโมกข์ผู้สำเร็จไตรเพทคนหนึ่ง คิดว่าจักให้มตกภัต จึงให้จับ
แพะมาตัวหนึ่ง กล่าวกะอันเตวาสิกทั้งหลายว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านจงนำ
แพะตัวนี้ไปยังแม่นํ้า เอาระเบียบดอกไม้สวมคอ เจิมประดับประดาแล้วนำมา
อันเตวาสิกทั้งหลายรับคำแล้ว พาแพะนั้นไปยังแม่นํ้า ให้อาบนํ้า ประดับแล้ว
พักไว้ที่ฝั่งแม่นํ้า แพะนั้นเห็นกรรมเก่าของตนเกิดความโสมนัสว่า เราจักพ้น
จากทุกข์ชื่อเห็นปานนี้ ในวันนี้ จึงหัวเราะลั่นประดุจต่อยหม้อดิน กลับคิดว่า
พราหมณ์นี้ฆ่าเราแล้วจักได้ความทุกข์ที่เราได้แล้ว เกิดความกรุณาพราหมณ์
จึงร้องไห้ด้วยเสียงอันดัง ลำดับนั้น มาณพเหล่านั้นจึงถามแพะนั้นว่า ดูก่อน
แพะผู้สหาย ท่านหัวเราะและร้องไห้เสียงดังลั่น เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึง
หัวเราะ และเพราะเหตุไร ท่านจึงร้องไห้ ? แพะกล่าวว่า ท่านทั้งหลายพึงถาม
เหตุนี้กะเรา ในสำนักแห่งอาจารย์ของท่าน. มาณพเหล่านั้นจึงพาแพะนั้นไป
แล้วบอกเหตุนี้แก่อาจารย์ อาจารย์ได้ฟังคำของมาณพเหล่านั้นแล้วถามแพะว่า
ดูก่อนแพะ เพราะเหตุไร ท่านจึงหัวเราะ เพราะเหตุไรท่านจึงร้องไห้ ? แพะ
หวนระลึกถึงกรรมที่ตนกระทำด้วยญาณเครื่องระลึกชาติได้กล่าวแก่พราหมณ์ว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อก่อน เราเป็นพราหมณ์ผู้สาธยายมนต์เช่นท่านนั่นแหละ
คิดว่าจักให้มตกภัต จึงได้ฆ่าแพะตัวหนึ่งแล้วให้มตกภัต เพราะเราฆ่าแพะตัว
หนึ่ง เรานั้นจึงถึงการถูกตัดศีรษะใน ๔๙๙ อัตภาพ นี้เป็นอัตภาพที่ ๕๐๐ ของ
เราซึ่งตั้งอยู่ในที่สุด เรานั้นเกิดความโสมนัสว่า วันนี้ เราจักพ้นจากทุกข์เห็น
ปานนี้ ด้วยเหตุนี้จึงหัวเราะ แต่เราเมื่อร้องไห้ ได้ร้องไห้เพราะความกรุณา
ท่าน ด้วยคิดว่า เบื้องต้น เราฆ่าแพะตัวหนึ่ง ถึงความทุกข์คือการถูกตัดศีรษะ
ถึง ๕๐๐ ชาติ จักพ้นจากทุกข์นั้น ในวันนี้ ส่วนพราหมณ์ฆ่าเราแล้วจักได้
ทุกข์คือการถูกตัดศีรษะถึง ๕๐๐ ชาติ เหมือนเรา. พราหมณ์กล่าวว่า ดูก่อนแพะ
ท่านอย่ากลัวเลย เราจักไม่ฆ่าท่าน. แพะกล่าวว่า พราหมณ์ ท่านพูดอะไร
เมื่อท่านจะฆ่าก็ดี ไม่ฆ่าก็ดี วันนี้เราไม่อาจพ้นจากความตายไปได้. พราหมณ์
กล่าวว่า ดูก่อนแพะ ท่านอย่ากลัว เราจักถือการอารักขาท่าน เที่ยวไปกับท่าน
เท่านั้น. แพะกล่าวว่า พราหมณ์ อารักขาของท่านมีประมาณน้อย ส่วนบาปที่
เรากระทำมีกำลังมาก. พราหมณ์ให้ปล่อยแพะแล้วกล่าวว่า เราจักไม่ให้แม้
ใคร ๆ ฆ่าแพะตัวนี้ จึงพาพวกอันเตวาสิกเที่ยวไปกับแพะนั่นแหละ แพะพอ
เขาปล่อยเท่านั้น ก็ชะเง้อคอเริ่มจะกินใบไม้ ซึ่งอาศัยหลังแผ่นหินแห่งหนึ่ง
เกิดอยู่ ทันใดนั้นเอง ฟ้าก็ผ่าลงที่หลังแผ่นหินนั้น เสก็ดหินชิ้นหนึ่งแตกตก
ลงที่คอแพะซึ่งชะเง้ออยู่ ตัดศีรษะขาดไป มหาชนประชุมกัน ในกาลนั้น
พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในที่นั้น พระโพธิสัตว์นั้นเมื่อมหาชนเห็น
อยู่นั่นแล นั่งขัดสมาธิในอากาศด้วยเทวานุภาพกล่าวว่า สัตว์เหล่านั้นรู้ผล
ของบาปอยู่อย่างนี้ชื่อแม้ไฉนไม่ควรกระทำปาณาติบาต เมื่อจะแสดงธรรมด้วย
เสียงอันไพเราะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ชาติสมภพนี้เป็น
ทุกข์ สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะว่าผู้มีปกติฆ่าสัตว์
ย่อมเศร้าโศก.
แม้ว่าเราไม่กิน สัตว์นั้นก็ถูกฆ่าอยู่ดี เพราะสัตว์เหล่านี้ทำกรรมฆ่าสัตว์มาครับ
ฉะนั้น การหยุดกิน จึงไม่ได้ช่วยให้มันรอดตายครับ
ไม่จำเป็นอย่าพูดพาดอิงถึงศาสดาหรือคำสอนนะ => เป็นชาวพุทธ ไม่อ้างอิงศาสดา และจะอ้างอิงใคร ?????
แม้ว่าเราไม่กิน สัตว์นั้นก็ถูกฆ่าอยู่ดี เพราะสัตว์เหล่านี้ทำกรรมฆ่าสัตว์มาครับ
ฉะนั้น การหยุดกิน จึงไม่ได้ช่วยให้มันรอดตายครับ
ไม่จำเป็นอย่าพูดพาดอิงถึงศาสดาหรือคำสอนนะ => เป็นชาวพุทธ ไม่อ้างอิงศาสดา และจะอ้างอิงใคร ?????
เจมันอยู่ที่ใจนะครับแม้จะกินเนื้อสัตว์ก็ยังเป็นเจเมื่อจิตนั้นบริสุทธิ์ในทุกขณะไม่ได้กินเพราะอยากกินเช่นพระสงฆ์ห้ามเลือกกินนั้นแหละครับ
แต่เราไม่ได้ขอใครกินเหมือนพระ เมื่อเรามีใจที่เป็นเจการกินของเราก็จะเป็นเจอย่างนี้ถูกต้องมั้ยครับ เหมือนกับเราชอบปลูกต้นไม้เราก็มักจะอยู่กับต้นไม้เกี่ยวกับต้นไม้เป็นต้น
ที่คุณเขียนมาลองไปพิจารณาดีๆนะครับ ว่าเงื่อนไขจริงๆแล้วนำไปสู่การไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวงแต่เราตัวใหญกว่าแมลงบางครั้งเราก็ทำให้แมลงตายบ้างนะครับไม่ได้ตั้งใจ
เมื่อไม่กินก็ไม่การฆ่า เมื่อไม่มีการฆ่าก็ไม่มีคนได้กิน เงื่อนไขนี้มีอยู่แล้ว อย่าได้คิดจะหาช่องทางเพื่อตนเองจะได้กินเนื้อสัตว์แบบสบายใจเลยนะครับ
การปล่อยปลานั้นดีครับ แล้วคนที่กินเจเขาก็ปล่อยนะครับไม่ได้หลับหูหลับตากินเจอย่างเดียว เพราะเขารู้ว่าการกินเจนั้นเว้นกรรมนะครับเมื่อไม่มีกรรมเพิ่มย่อมได้บุญเต็มนะครับ
อีกอย่างคนมีทางเลือก สัตว์ไม่มีทางเลือกนะครับเขาเกิดมาเพื่อใช้กรรมของเขา เราเกิดมาใช้กรรมของเราอย่าได้คิดทำลายกายเนื้อของใครนะครับเพราะนั้นเรากำลังเกี่ยวกรรมกับเขาเต็มๆอย่างนี้เข้าใจใช่มั้ยครับ
ที่สำคัญผมเป็นพุทธเหมือนคุณนะครับถ้าไม่มีความหวังดี หรือไม่จำเป็นอย่างพูดพาดอิงถึงศาสดาหรือคำสอนนะครับ ถ้าจิตไม่บริสิทธิ์ที่จะพูดจริงๆ ความเสียหายจะเกิดกับคุณเองนะครับ
ขอให้คนเขียนคิดได้แบบนี้ต่อไปนะครับและให้มีปัญญาเห็นชัดขึ้นอีกนะครับ สาธุ
หากเราไม่ยึดตามพระไตรปิฎก เราจะยึดอะไรหล่ะครับ
เราจะต้องพิจารณาว่า ที่เราคิดว่าคิดง่ายๆนั้น คิดตรงกับความเป็นจริงหรือไม่
แต่ไม่อยากเห็นการใช้ถ้อยคำต่อกันที่รุนแรง อยากให้แสดงความเห็นเพื่อให้เกิดปัญญา
เป็นกำลังใจให้คุณณัฐด้วยนะคะ
เจจริต ไอ้นี่กระแดะ บอกว่าต้องทำนู้น ทำนี่ แต่งตัวชุดขาว อะไรเยอะแยะ ออฟชั่นเสริมเต็มไปหมด
เจใจ รายนี้ไม่ต้องพูดอะไรมาก กินแกงไก่ ก็กินได้ แต่เลือกเขี่ยไก่ออก แล้วชิมน้ำซุป หรือผักในนั้นแทน
ผมขอแค่ ใครจะกินเจ แล้วอย่าเป็นประเภท "เจจริต" ก็พอครับ
*** ยังไงก็แล้วแต่ การจะกินเจ ถ้าใจจริง ก็กินตอนไหนก็ได้ ไม่ต้องรอกระแส ที่สำคัญต้องกินด้วยใจบริสุ
วันนี้คุณทำสิ่งที่เป็นมงคลแก่ชีวิตแล้วหรือยัง // อะไรที่เป็นบุญก็ทำเถอะ แต่อย่ายกดีมาข่มกันว่าฉันมากกว่าหรือฉันน้อยกว่า ลองเอามงคล 38 มาเทียบกับวิถีชวิตเราอาจจะดีกว่า รักกันไว้ชาวพุทธเรา // เราอาจเหมือนคนตาบอดคลำช้างกันด้วยกันทุกคนก็ได้
ส่วนจะแบ่งเป็น 2 นิกาย หรือ อย่างไรนั้น มันก็มาจากที่เดียวกัน เช่นเดียวกันกับ ความเชื่อความศรัทธา ก็มาจาก มูลเหตุเดียวกัน คือการ กินเจ มันเป็นเพียงแค่ เหตุผล ของ แต่ละบุคคลเท่านั้น ส่วนจะดีหรือไม่นั้น เราก็ไม่สามารถบอกได้ เพราะคนส่วนใหญ่ จะเชื่อเหตุผลต่างๆ เพราะว่า ทำตามคนส่วนมาก หรือทำต่อๆ กันมา ตามๆกันมา ก็คิดว่าดี หรือไม่ดี ฉะนั้น ต้องถามตนเองว่า กินเจ แค่ไม่กี่วัน จะล้างกรรมที่ทำได้หรือไม่ ถ้าเชื่ออย่างนี้ สู้คุณรักษา ศีล5ให้ครบถ้วน ตลอดเดือนไม่ดีกว่าหรือ ผมว่าอาจจะง่ายกว่า การกินเจด้วย ได้บุญมากมายกว่าหลายพันเท่าด้วย จิตใจที่มีเมตตาตลอดเพราะถือ ศีล จะวิเศษ กว่ากินเจ แค่ไหนคุณลองคิดดูครับ เพราะ เท่าที่เห็นส่วนใหญ่ พอหมด เทศกาลกินเจ ก็กินเหล้า เคล้านารี ผิด ศีลกันเป็นปกติ เท่าที่ผมเคยเป็นมา ลองไปคิดดูกันครับ ผมเชื่อว่า พุทธศาสนา ไม่มีทาง จะนำคุณตกตำ่ไปได้ ผมว่ายิ่งทำตามยิ่งเพิ่มมากกว่า เท่าที่ผมทำอยู่ครับ
กลอนสะกิดใจ
สัพเพ สัตตา เสียงร้องขอ ชีวิตจิตหวั่นไหว
เสียงห่ำหั่น เข่นฆ่า น่าสยอง
เสียงซวบซาบ ดาบคมเชือด เลือดไหลนอง
เสียงกรีดร้อง สะท้านจิต สะกิดใจ
เสียงสัพเพ สัตตา พาให้คิดว่าชีวิตนี้ มีค่า กว่าสิ่งไหน
อเวรา อย่ามีเวร อย่ามีภัย
ชีวิตใคร ใครก็หวง อย่าล่วงเกิน
ท่องสัพเพ สัตตา มาแต่ไหน ยังเข้าใจ ในเนื้อแท้ ้แค่ผิวเผิน
ยังฆ่าบ้าง กินบ้าง อย่างเพลิดเพลิน ยังใช้เงิน ซื้อชีวิต อนิจจา
สัตว์เกิดกาย มาใช้กรรม ที่ทำไว้ เป็นเป็ดไก่ กุ้งปลา ูและหมูหมา
ตามเหตุต้น ผลกรรม ที่ทำมา มิใช่ฟ้า ประทานมา ให้คนกิน
มีปัญญา แต่ไฉน จึงไม่คิด
มองชีวิต กลับเห็น เป็นทรัพย์สิน
เสียงกรีดร้อง ก่อนตาย ใครได้ยิน น้ำตาริน เมื่อถูกเฉือด เลือดกระเซ็น
พูดว่าเขา เกิดมา เป็นอาหาร เขาลนลาน หนีตาย ใครมองเห็น
เขาจนใจ พูดไม่ได ้เถียงไม่เป็น ช่างเลือดเย็น เข่นฆ่า ไม่ปราณี
มีพืชผัก มากมาย นับไม่ถ้วน ทุกกลิ่นรส สดใส หลายหลากสี
ธรรมชาติ วางไว้ อย่างดิบดี สัตว์วิ่งหนี พืชเต็มใจ ให้กินมัน
เพราะเรากิน เขาจึงฆ่า เอามาขาย เราสบาย แต่สัตว์โลก ต้องโศกศัลย์
ท่องสัพเพ สัตตา มาทุกวัน
เมตตากัน โปรดอย่าฆ่า และอย่ากิน
ประพันธ์โดย
คุณประวิทย์ ชัยศิริสัมพันธ์
รูปขนาดเล็ก
ส่วนกุศล หรือบุญ ก็ขึ้นอยู่กับเจตนา
ถ้ามีกุศลจิต ไม่กินเพราะิคิดว่าจะเป็นส่วนหนึ่งเพื่อลดการเบียดเบียนชีวิตได้
อย่างนั้นก็น่าจะได้บุญ เกิดกุศลจิตได้
ถ้าไม่ได้ิคิดอย่างนั้น เช่น คิดว่ากินตามเทศกาล กินเพื่อบนบานศาลกล่าว กินเพื่อสุขภาพ
หรือ..เอ๊ะ ก็อร่อยดีนะ ฯลฯ
อย่างนั้นก็ไม่น่าจะได้บุญ
ปล. ความคิดเห็นส่วนตัวครับ โปรดใช้กาลามสูตรประกอบการพิจารณา
สาธุ
สาธุ
ถ้าเราไม่กินเนื้อสัตว์จะมีการฆ่าสัตว์ไหม ?
การฆ่าสัตว์เกิดขึ้นตั้งนานแล้วในโลก ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเกิดซะด้วยซ้ำ
และพระพุทธเจ้าก็เกิดมาแล้วเผยแผ่คำสอนของพระองค์ทำให้การฆ่าสัตว์ลดน้อยลง
การที่คนเราไม่กินสัตว์ ไม่ได้ทำให้สัตว์ตายน้อยลงแต่อย่างใด
ถ้าอย่างนั้น เราก็ต้องไม่สนับสนุนสินค้าทุกอย่างที่เกิดขึ้นจากสัตว์เลยสิ จะได้ไม่ 2 มาตรฐาน
รองเท้าหนัง เสื้อขนสัตว์ สบู่ หรืออะไรก็ตามที่เราใช้ในปัจจุบัน แล้วมันเกิดจากสัตว์
ก็แค่ไอ้พวกที่อยากทำตัวเป็นพระเอกออกมาประกาศให้ชาวบ้านรู้
อันนี้ผมรู้อยู่แล้วเหอะ แต่กุประสงค์เอง ทำเป็นพวกป่าวประกาศว่าอย่าหลงนะอย่าหลงนะ วุ้ว ศรัทธาคับ แค่นั้น กินไรก็กินไปเหอะ ผมบวชผมก็กินสัต ผมไม่บวชผมก็กินเจ กินไรก็กิน ทำไรก็ทำ ขนาดกินเนื้อวัวไม่บาป ผมก็ไม่กินมาตลอดชีวิตเหมือนกันคับ ศรัทธาแค่นั้นเอง อยากทำ วุ้ว
คงได้บูญอยู่บางเล็กน้อยแหละ ไม่ใช่ไม่ได้เลยมั่ง ถ้าไม่มีใครซื้อ เขาก็ไม่ฆ่า นะ
ใครอยากกินเจ พึงกิน
ใครไม่อยากกิน ก็ไม่ต้อง
แต่ที่เหมือนกัน คือ ไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียน ไม่ยินดีในการฆ่าและเบียดเบียน
วิบากกรรมเกิดจากการฆ่ามีให้เห็นมากมายครับ แม้แต่ที่ท่านเข้าใจและแบ่งแยกพุทธเป็น นิกาย โน้นบาง นิกายนี้บาง ว่าไม่ใช้พุทธบาง ก็คิดพิดแล้วครับ ลองคิดนะครับศิล ที่พุทธเจ้าท่านทรงกล่าวสั้นๆ ว่าไม่ให้เบียดเบียนในสัตวทั้งหลายครับ เพียงข้อความเดียวแยกเป็นศิลเล็กศิลน้อยมากมาย การลดละในการกินเป็นบาปหรือบูญครับลดจาก 3 มื้อ เป็น 2 มื้อ เป็น 1 มื้อ ลดจากอาหารที่ปรุงแต่งมาอย่างดี ด้วยรูปเสียงกลิ่นรส หรือสัผัส คุณกินแล้วรู้สึกอร่อยในรสเนื้อ กลิ่นหอมหวน รสชาติติดใจ ทำให้อยากกิน ไม่ได้ทำให้คนเรารู้จักทำว่า ลดละเลยครับ แต่ยังช่วยให้ติดในเรื่องการกินไปกันใหญ่แล้วจะไปลดกิเลส ชั้นมากๆได้อย่างไร แม้ฝึกกรรมฐาน ก็ผ่านปฐมณานได้ยากครับ ถึงแม้จะได้ก็นานเลยละครับ กว่าจะได้ถึงขั้นเปิดประตูสวรรคนะลำบากเลย เพราะ
1 ขาดเมตตา ขั้นแรกครับถ้าเมตาตาไมผ่าน ก็จบครับ ไม่เกิดเมตตาฝึกกรรมฐานลำบากครับ กรรมฐาน คนที่รู้จักจะรู้ว่าจะประกอบด้วยศิล เมตตา กตัญูยูจะเกิด ความสงสารจะเกิด ใจจะสงสารสัตวโลก สงสารตัวเอง จิตจะมุ่งเพื่อบรรลุธรรม ความเพียรจะเกิด ไครเห็นความตายคนนั้นเห็นกรรมฐาน ความตายกับกรรมฐานอยู่ใกล้กันมาก แล้วจะเห็นว่าเราก็รักตัวกลัวตาย จะเห็นว่าสัตวก็รักตัวกลัวตาย ปฏิเสธในขั้นกรรมฐานไม่ได้หรอกครับ ไม่ต้องกำหนดเห็นแต่จะเห็นเอง เกิดขึ้นเอง ดับไปเอง ปัญญาจะเห็นผิดชอบชั่วดี ได้เอง เห็นเอง อ่านจากตำราไม่เห็นครับ ลองปฏิบัติดดูครับ แล้วจะได้เข้าใจไหม ว่าพุทธที่แท้ไม่ได้มุ้งเปิดตำรา แต่มุ้งเมตตาครับ พระพุทธองค์มีเมตตาตรงนี้มากครับมากกว่าที่คุณหรือผมจะมีกันเสียอีก เรายังหางไกลเมตตากันมาก มั่วแต่มองผลประโยนช์ที่จะได้รับ แล้วนำความเห้นส่วนตัวบ้าง จากตำรามาเทียบเคียงกันแล้วมาอ้างกันไป ไม่ได้พิจารณาธรรมในธรรมให้ละเอียด สมาธิมีเพื่อมาพิจารณาธรรมในชั้นสูงๆที่สติไม่ได้ฝึกอาจจะบอกได้ว่าดีแล้วทำไปโดยเข้าใจผิด ต้องลองฝึกครับ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ทั้ง 4 อย่างนี้เราก็มี สัตวทั้งหลายก็มี จะบอกว่าไม่มีไม่ได้ ครับเพราะทุกอย่างเป็นธรรมครับ คนเป็นธรรม สัตวก็เป็นธรรมครับ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ที่เห็นได้ด้วยตา ลองปฏิบัติธรรมดู ผมเซื่อเลือกเกินว่าคนจำนวนไม่น้อยเคยฝึกกรรมฐานกันมา บางคนก็เก็บหน่วยกิจมาก บางคนก็เก็บหน่วยกิจมาน้อย ได้ไม่เท่ากันหรอก แต่เท่าที่รู้มาไม่มีพระกรรมฐาน องค์ใดเลยที่ได้ณานชั้นสูงแล้วไม่มีความเมตตา ท่านทั้งหลายล้วนเมตตาต่อสัตว มิหวังร้ายต่อสัตวทั้งร้าย แม้แ่ตทานเอง ผมก็เซื่อว่าวันใดท่าน สำเร็จในกณรมฐานได้บ้างท่านจะเพิ่งรู้เอง และจะยินดี ในกรรมดีที่คนอื่นพึงทำกันแม้บางดนอาจจะเข้าใจและหวังผลจากการกระทำก็ตาม ผมเคยผ่าน ความคิดแบบท่านมาก่อนจึงเข้าใจท่าน และก็เข้าใจ คนกินเจ ครับเราควรยินดีต่อกัน และ สัตวโลกที่มีกรรมนำมาเกิดดีกว่านะครับ จะมีใครเคยคิดบ้างว่าพระธรรมในพระไตรฏิฎก ที่กล่าวไว้ดีแล้ว แต่พวกทั้งหลายติดความกันตาม ความคิด ส่วนตัวกันหรือปล่า จึงลืมยังประโยนช์ที่จเกิดขึ้น ต่อ คนและสัตว์ ในวัฏฏจักร สงสารนี้ ว่าเราดีกว่าดนโน้นบ้างคนนี้บาง เราดีกว่าสัตว เดรฉานบ้าง ถ้าเราดีกว่าสัตวหรือคนบางคน เราก็คงไม่เอาตัวไป คุกคี กับสิ่งๆนั้นหรอกครับ ไม่เช่นนั้นเราก็คงไม่ตามกับสัตวหรอก เราฉลาดกว่าสัตว เห็นสัตวใหญ่กินสัตวเล็ก เราก็กินตาม สรุปว่าเราฉลาดกว่าพวกเขาหรืเราทำตามพวกเขา เห็นกิน อะไรได้คนก็กินตาม จริงไหมครับ ผมบอกให้ฟังไม่ใช้จะให้ทุกคนกินเจหรอก ครับแต่อย่าจะให้ มีความเข้าใจและยินดีต่อกันมากกว่าคนกินเจก็ไม่ควรไปตำนิ คนอื่นทีเขาไม่ได้คิดหมือนตัวเรา เพราะไม่เป้นการยังประโยนช์อะไรได้เลยสำหรับคน ที่เขาไม่เห็นด้วย ขอท่าน ทั้งหลาย ที่เป็นพุทธสานิกชน จงมีแต่หวังดีต่อ กัน และให้อภัย กันแม้ความคิด ไม่ตรงกัน อย่าได้มี มานะทิฐิ ทีจะเอาชนะกัน นะครับ เป้นผู้แพ้ ก็ดีนะครับจะได้เห็นคนอื่นเขาได้ดีใจบาง
ขอบคุณมากค่ะ